Page 10 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 10

iv | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

             System) ที่ประกอบไปด้วย การประกันสังคม (Social Insurance) ซึ่งให้ผลประโยชน์แก่ผู้ประกันตนที่ได้จ่าย
             สมทบหรือจ่ายค่าเบี้ยประกันจากค่าจ้างเงินเดือนในขณะที่ท างาน เมื่อเกษียณ (เงินบ านาญ - Pension) หรือ
             เมื่อพิการหรือไร้ความสามารถ (Disability) และการประกันสุขภาพ (Health Insurance) ซึ่งให้ผลประโยชน์

             เมื่อผู้ประกันตนเจ็บป่วย และ (3) การให้สวัสดิการสังคม (Social Welfare) ซึ่งรัฐจัดหาบริการต่างๆให้กับ
             ผู้สูงอายุโดยไม่คิดค่าบริการแก่ผู้สูงอายุที่ยากจนหรือมีรายได้ต่ า โดยมีการก าหนดเกณฑ์การคัดเลือกที่ชัดเจน
             เช่น การก าหนดเส้นขีดความยากจน (Poverty threshold) หรือ เส้นขีดรายได้ขั้นต่ า (Minimum income
             threshold) และ/หรือ คุณสมบัติอื่น ๆ ขนาดสมาชิกในครอบครัว เป็นต้น

                    4) กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุจากการส ารวจ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ ดังนี้
                       (1) การเลือกปฏิบัติต่ออายุ: ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ (มากกว่าร้อยละ 90 ขึ้นไปของผู้ตอบ) ไม่เคยมี
             ประสบการณ์ในการถูกเลือกปฏิบัติโดยบุคคลตั้งแต่ในครอบครัว สถานที่ท างาน ในชุมชน (เพื่อนบ้าน และคน
             ในชุมชนที่อยู่อาศัย) และในสังคม (เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลอื่น ๆ ที่มีการติดต่อ) ส าหรับผู้สูงอายุที่เคยมี

             ประสบการณ์ในการถูกเลือกปฏิบัติ (ต่ ากว่าร้อยละ 10) ส่วนใหญ่เกิดจากบุคคลในสังคม รองลงมา คือ จาก
             บุคคลในครอบครัว จากบุคคลในชุมชน  และจากบุคคลในสถานที่ท างาน ตามล าดับ แสดงให้เห็นว่า
             ปรากฏการณ์ด้านการเลือกปฏิบัติต่ออายุยังไม่เป็นที่ตระหนักโดยผู้สูงอายุ และการเลือกปฏิบัติต่อผู้สูงอายุจะ
             เกิดจากบุคคลภายนอกครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอาจจะไม่รู้จักกันหรือไม่มีความเข้าใจในการให้บริการแก่

             ผู้สูงอายุ และเกิดจากบุคคลที่อยู่ภายในครอบครัวที่ผู้สูงอายุอาจจะต้องพึ่งพาอาศัย
                       ลักษณะของการเลือกปฏิบัติที่ผู้สูงอายุได้รับจากบุคคลในครอบครัว ถ้าเป็นคู่สมรสจะถูกเลือก
             ปฏิบัติโดยการท าร้ายร่างกาย การทอดทิ้งละเลย และการท าร้ายโดยวาจา ถ้าเป็นบุตรหลาน จะเลือกปฏิบัติ
             โดยการทอดทิ้งละเลย การท าร้ายโดยวาจา และการขโมยเงินเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุไปใช้จ่าย ส่วนผู้ที่เป็น

             เขย/สะใภ้ และญาติ นั้น จะเลือกปฏิบัติโดยการท าร้ายโดยวาจา และการละเลย
                       ในกรณีที่เกิดการเลือกปฏิบัติในสถานที่ท างาน หากเกิดจากนายจ้าง จะเป็นการท าร้ายโดยวาจา
             และการเลื่อนขั้นหรือเลื่อนต าแหน่ง ส าหรับจากเพื่อนร่วมงานและลูกน้องที่ผู้สูงอายุได้รับการเลือกปฏิบัติ จะ
             เป็นการท าร้ายโดยวาจา ในกรณีของบุคคลในชุมชนนั้น เพื่อนบ้านจะเลือกปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ โดยการแสดง

             ความดูถูก รังเกียจ นินทา และการแย่งที่จอดรถ
                       ส าหรับบุคคลในสังคม นั้น ผู้สูงอายุจ านวนมากระบุว่า การเลือกปฏิบัติเกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐที่
             ส่วนใหญ่เป็นผู้ให้บริการด้านการแพทย์ที่ผู้สูงอายุไปติดต่อ เป็นการท าร้ายโดยวาจา การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
             ในการให้บริการ การปฏิบัติการที่ล่าช้า ส าหรับบุคคลทั่วไป ส่วนใหญ่มักจะเป็นพนักงานขับรถและเจ้าหน้าที่

             ประจ ารถโดยสารสาธารณะ ที่ผู้สูงอายุต้องใช้บริการในการเดินทาง จะเลือกปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ โดยการท าร้าย
             ด้วยวาจา การปฏิเสธให้บริการจอดรถรับผู้สูงอายุ การโกงเงินของผู้สูงอายุและการไม่ให้เกียรติแก่ผู้สูงอายุ
                        (2) การเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของผู้สูงอายุภายใต้สิทธิประโยชน์ที่ก าหนดในพระราชบัญญัติ
             ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546:

                           1. ด้านสิทธิประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและสังคมนั้น ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีประสบการณ์ใน
             การเข้าใช้บริการจากภาครัฐทางด้านบริการทางการเงิน รองลงมา คือ บริการด้านการเดินทางขนส่ง การเข้า
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15