Page 8 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 8

ii | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)


             ผลการศึกษา

                    1) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights – UDHR) ของ
             องค์การสหประชาชาติ (รับรองในปี ค.ศ. 1948) นับเป็นรากฐานของการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุในฐานะ
             ของการเป็นมนุษย์ ตราสารนี้เป็นพื้นฐานส าหรับการพัฒนากฎหมายภายในประเทศของประเทศต่าง ๆ เพื่อ
             ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนในประเทศของตน รวมทั้งในประเทศไทย

                    ส าหรับมาตรการสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจากสนธิสัญญาระหว่างประเทศภายใต้องค์กร
             สหประชาชาติ มี 9 ฉบับ ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ 7 ฉบับ [ได้แก่ สนธิสัญญา (1) – (7)]
             ได้แก่ (1) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on
             Civil and Political Rights - ICCPR) (2) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ

             วัฒ น ธรรม  (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights - ICESCR) (3)
             อนุสัญญาว่าด้วยการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of
             Discrimination Against Women หรือ CEDAW) (4) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the
             Rights of the Child หรือ CRC)  (5) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ

             (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination หรือ CERD) (6) อนุสัญญา
             ว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระท าอื่น ๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ ายีศักดิ์ศรี (Convention
             Against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment ห รื อ  CAT)
             (7) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities หรือ

             CRPD) ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี (8) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหาย
             สาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced
             Disappearance หรือ CED) และ (9) อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและ
             สมาชิกในครอบครัว (Convention on the Protection of the Rights of Migrants Workers and

             Member of their Families หรือ CMW)
                    นอกจากนั้น ยังมีอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor
             Organization – ILO) ว่าด้วยสิทธิของแรงงาน 188 ฉบับ ภายใต้ปฏิญญา ILO เรื่อง หลักการและสิทธิขั้น
             พื้นฐานในการท างาน (ILO Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work) โดยประเทศ

             ไทยเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศทั้งหมด 14 ฉบับ
                    ในอาเซียนซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศสมาชิก ได้มีข้อตกลงความร่วมมือด้านผู้สูงอายุ 2 ฉบับ  ได้แก่
             (1) ปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยผู้สูงอายุ: การเพิ่มขีดความสามารถของผู้สูงอายุในอาเซียน (Kuala Lumpur
             Declaration on Ageing: Empowering Older Persons in ASEAN) และ (2) ปฏิญญาบรูไนดารุสซาลาม

             ว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว: การดูแลผู้สูงอายุ (Brunei Darussalam
             Declaration on Strengthening Family Institution: Caring for Elderly)
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13