Page 9 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 9

โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
                                                                    กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | iii

                    สนธิสัญญาระหว่างประเทศต่าง ๆ ขององค์การสหประชาชาติและองค์การแรงงานระหว่างประเทศ

             ระบุการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยทั่วไปจากการเลือกปฏิบัติ หรือเป็นการคุ้มครองสิทธิของเฉพาะกลุ่มสตรี
             หรือ เด็ก หรือแรงงาน แต่ไม่มีคุ้มครองสิทธิเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ดังนั้นองค์การสหประชาชาติได้จัดตั้ง Open-
             ended Working Group on Ageing – OWGA) ในปี ค.ศ. 2010 เพื่อด าเนินการศึกษาเกี่ยวกับสถานการณ์
             ปัญหาและช่องว่างของมาตรการระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเสนอแนะมาตรการ
             ในการจัดท าอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของผู้สูงอายุ (The Convention on the Rights of Older Persons)

             ต่อไป OWGA ได้จัดประชุมมาจนถึงปัจจุบันทั้งหมด 9 ครั้ง และในครั้งที่ 10 จะมีการจัดประชุมในปี
             ค.ศ. 2019 ส าหรับในเรื่องการไม่เลือกปฏิบัติ (Non-discrimination) และความรุนแรง การละเลย และการ
             ทารุณกรรม (Violence, Neglect and Abuse) ได้เป็นวาระในการพิจารณาในการประชุม OWGA

             ครั้งที่ 8 (2017)
                    2) ส าหรับประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ได้ด าเนินการตามที่ได้ให้
             สัตยาบันภายใต้ตราสารระหว่างประเทศ โดยการประกันให้เกิดสิทธิต่าง ๆ ตามที่ระบุในสนธิสัญญา ด้วยการ
             ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในล าดับต่างๆ
                    ในการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุโดยเฉพาะ ได้มีการก าหนด (1) ปฏิญญาผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2542 ว่า

             ด้วยการคุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิของผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี (2) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
             พุทธศักราช 2560 มีการบัญญัติเรื่องการขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพื่อป้องกันการละเมิดโดยมิชอบ
             ต่อผู้สูงอายุ ในมาตรา 27 รวมถึงมาตรา 48 มีการก าหนดให้บุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือที่

             เหมาะสมจากรัฐ เนื่องจากบุคคลที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ และในมาตรา 71 ได้กล่าวถึงภารกิจของรัฐที่มีหน้าที่
             ต้องด าเนินการเพื่อให้ประชาชนด าเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ และ(3) พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ว่า
             ด้วยการส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้รับสิทธิตามที่ก าหนดไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 11 ทั้งนี้ หน่วยงานที่
             เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ท้องถิ่น มีหน้าที่จัดบริการให้ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย มี
             การจัดตั้งคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) ท าหน้าที่ให้ความเห็นชอบและเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี

             เกี่ยวกับนโยบายและแผนหลักเกี่ยวกับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุน สถานภาพ บทบาท และ
             กิจกรรมของผู้สูงอายุ ทั้งส่วนของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน ตลอดจนสถาบันครอบครัวให้มีส่วนร่วมในการ
             ดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 มีการแก้ไขในมาตรา 15 โดยให้มีการ

             เรียกเก็บเงินสนับสนุนเข้ากองทุนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อการให้เงินช่วยเหลือเพื่อการยังชีพแก่
             ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย จากภาษีสรรพสามิตในส่วนที่เกี่ยวกับ สินค้าสุราและยาสูบในอัตราร้อยละสอง ดังนั้น
             ในภาพรวม การขับเคลื่อนขององคาพยพต่าง ๆ ตลอดจนการออกกฎหมาย ประกาศ กฎกระทรวง ค าสั่งจึงอยู่
             ภายใต้พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546
                    3) การศึกษาแนวปฏิบัติที่ดี (Best practices) ในการคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุจากการเลือกปฏิบัติต่อ

             อายุ จาก 6 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน พบว่า ในทุกประเทศมีการ
             คุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุใน 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการมีงานท า (Employment) โดยการขยายอายุเกษียณไป
             เป็น 65 ปี หรือ 67 ปี หรือการยกเลิกอายุเกษียณ (2) การสร้างความมั่นคงทางสังคม (Social Security
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14