Page 5 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 5

ค าน า


                     การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในรอบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ท าให้ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่
               สังคมสูงอายุ (Aging society) ในปัจจุบัน และเป็นที่คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุ
               สมบูรณ์ (Aged society) ในปี 2564 และกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super aged society) ในอีก

               ไม่ถึง 20 ปีข้างหน้า ซึ่งหมายถึงสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28 ของประชากร
               ทั้งหมด รัฐบาลได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว และได้มีการก าหนดนโยบายและ
               มาตรการต่าง ๆ มารองรับการสูงอายุของประชากร แต่จากการศึกษาวิจัยต่างๆพบว่านโยบายและมาตรการ

               เหล่านี้ยังไม่เพียงพอและครอบคลุมประชากรผู้สูงอายุที่มีจ านวนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในมิติของการคุ้มครอง
               สิทธิมนุษยชนของผู้สูงอายุจากการเลือกปฏิบัติ

                     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้เล็งเห็นความส าคัญในการศึกษาเกี่ยวกับมิติด้าน
               สิทธิมนุษยชนของผู้สูงอายุไทย รวมทั้งการเตรียมความพร้อมในการรองรับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของ
               ผู้สูงอายุของสหประชาชาติในอนาคต จึงได้พิจารณาคัดเลือกให้คณะผู้วิจัยจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร

               ศาสตร์ด าเนินการ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริม
               สิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ ในระหว่างวันที่ 19 มิถุนายน 2561 – 15 มกราคม 2562

                      รายงานฉบับนี้ เป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) ของโครงการศึกษาวิจัย ที่น าเสนอต่อ
               ส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  คณะผู้วิจัยขอขอบพระคุณในความร่วมมืออนุเคราะห์ให้ข้อมูล
               และข้อคิดเห็นจากทุกท่าน ทั้งที่อยู่กลุ่มตัวอย่างในการส ารวจ ผู้เข้าร่วมให้ความคิดเห็นในการท า Focus

               group ผู้ให้ความคิดเห็นและข้อมูลในการสัมภาษณ์เชิงลึก และผู้เข้าร่วมประชุมร่างรายงานฉบับสมบูรณ์
               ข้อมูลและข้อคิดเห็นต่าง ๆ เหล่านี้ท าให้สภาพการณ์ของการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุจากการเลือกปฏิบัติของ
               ประเทศไทยได้ชัดเจนขึ้น

                     ท้ายสุดนี้ คณะผู้วิจัยขอแสดงความซาบซึ้งต่อข้อคิดเห็นที่ได้รับจากคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงาน

               จ้างที่ปรึกษา ในการปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาสาระของงานวิจัยระหว่างการด าเนินงานโครงการศึกษาวิจัย อันเป็น
               ประโยชน์อย่างยิ่งต่อการด าเนินงานด้านการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุไทยจากการเลือกปฏิบัติต่ออายุของ
               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อไป



                                                                       คณะผู้วิจัย
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10