Page 7 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 7

โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
                                                                     กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | i

                                             บทสรุปผู้บริหาร

                    ประเทศไทย ได้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมสูงอายุ จ านวนประชากรสูงอายุเพิ่มมากขึ้น ประชากรในวัย

             เยาว์ลดลง อายุขัยของประชากรเพิ่มขึ้น โครงสร้างครอบครัวเปลี่ยนแปลง น าไปสู่ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่าง
             คนต่างวัย ที่มีความต้องการแตกต่างกัน ในขณะที่ผู้สูงอายุจะมีสภาพร่างกายและการรับรู้ที่ด้อยกว่าผู้เยาว์วัย
             กว่า ท าให้ต้องการพึ่งพิงหรือความช่วยเหลือจากผู้ที่เยาว์วัยกว่า แต่ผู้ที่เยาว์วัยกว่าต้องการความเป็นอิสระและ
             โอกาสด้านต่างๆในการด ารงชีวิต ความแตกต่างด้านความต้องการระหว่างวัยนี้ เป็นพื้นฐานของการเกิดการ

             ละเมิดสิทธิของผู้สูงอายุที่เกิดจากการเลือกปฏิบัติต่ออายุได้ “โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ
             นโยบายหรือมาตรการ เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ” จึงมีวัตถุประสงค์ส าคัญ
             3 ประการ ได้แก่ (1) การศึกษาและสังเคราะห์ ข้อเท็จจริง สถานการณ์ นโยบาย กฎหมาย มาตรการที่
             เกี่ยวกับผู้สูงอายุของไทยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเลือกปฏิบัติ ว่ามีความสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่าง

             ประเทศที่ไทยเป็นภาคีและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอย่างไร (2) การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
             การเลือกปฏิบัติที่เกิดขึ้นจากนโยบาย กฎหมาย มาตรการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเปรียบเทียบกับพันธกรณีระหว่าง
             ประเทศที่ไทยเป็นภาคีและมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ รวมทั้งวิเคราะห์ช่องว่างในการ
             คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุในกรณีการเลือกปฏิบัติ และ (3) การจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายในการ

             แก้ไขปัญหาและ/หรือมาตรการเชิงประจักษ์ (Evidence-base) ให้สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ
             และมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศส าหรับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องน าไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริม
             และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้สูงอายุจากการถูกเลือกปฏิบัติ รวมทั้งการใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการท างาน
             ตามกฎหมายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการตรวจสอบเรื่องร้องเรียน การเฝ้าระวัง

             สถานการณ์สิทธิมนุษยชน และการเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
             ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้สูงอายุ และการมีข้อมูลพื้นฐาน (Baseline) ในการพิจารณาเข้าเป็นภาคี
             อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของผู้สูงอายุ (Convention on the Rights of Older Persons) ของประเทศไทยใน
             อนาคต

                    กรอบแนวคิดในการศึกษาวิจัยตั้งอยู่บนแนวคิดทฤษฏีว่าด้วยหลักการสิทธิมนุษยชนที่จะต้องได้รับการ
             ปฏิบัติอย่างเสมอภาคและไม่ถูกเลือกปฏิบัติทั้งทางตรงและทางอ้อมอันเนื่องมาจากอายุ ภายใต้กรอบในการ
             ปกป้องและคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General
             Assembly) ส าหรับวิธีการศึกษาเป็นผสมผสานการศึกษาเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การศึกษาเชิงคุณภาพ

             นั้น เป็นการสังเคราะห์จาก (1) เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth
             interview) และ (3) การระดมความคิดเห็น (Focus group) และการศึกษาเชิงปริมาณ เป็นการวิเคราะห์ด้วย
             ข้อมูลเชิงประจักษ์จากการส ารวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุโดยการสัมภาษณ์ด้วยเครื่องมือ
             แบบสอบถาม
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12