Page 15 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 15

โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
                                                                    กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | ix

             ให้บุคคลเหล่านี้ไม่เกิดปัญหาขาดรายได้และเกิดความเครียดที่อาจน าไปสู่การท าร้าย การละเลย หรือการ

             ทอดทิ้งผู้สูงอายุ
                       ในกรณีของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ก็ยังมีปัญหาในด้านมาตรฐานการท างานและการไม่มี
             แรงจูงใจทางการเงิน เนื่องจากการท างานดูแลผู้สูงอายุในชุมชนส่วนใหญ่จะไม่ได้รับค่าตอบแทน ในกรณีที่
             ได้รับก็เป็นค่าตอบแทนที่ต่ ามาก
                       6. นโยบายและกฎหมายที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ: การขาดนโยบายและมาตรการ ตลอดจน

             กฎหมายเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ กฎหมายหรือระเบียบเกี่ยวกับการปรับปรุง
             อาคารส าหรับผู้สูงอายุ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในอาคาร ไม่มีเรื่องเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมด้านนอก
             อาคารสถานที่ที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่น ที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีที่อยู่อาศัยและการเดินทางติดต่อ

             ส าหรับการด ารงชีวิตประจ าวันได้อย่างปลอดภัย และยังไม่มีโครงการที่เป็นรูปธรรมที่เกิดขึ้น
                       7. ทัศนคติต่อผู้สูงอายุ: ทัศนคติ หรือ มายาคติ ที่มีต่อผู้สูงอายุ ทั้งจากตัวของผู้สูงอายุ และบุคคล
             รอบข้าง รวมทั้งภาครัฐ ที่มองผู้สูงอายุไทย เป็น “ภาระ” (Burden) มากกว่า เป็น “ทรัพย์” (Assets) ซึ่งการ
             คุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุในกรณีของการเลือกปฏิบัติโดยรัฐ จะเป็นในลักษณะของการเข้าไปให้ความ
             ช่วยเหลือการให้สวัสดิการเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นผู้อ่อนแอ เปราะบาง เพราะยากจน ถูกทอดทิ้ง

             ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
                    7) ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อผู้สูงอายุด้านเศรษฐกิจและสังคม จะแบ่งเป็น
             ข้อเสนอแนะทางกฎหมาย ข้อเสนอแนะด้านนโยบาย และข้อเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

                       (1) ข้อเสนอแนะทางกฎหมาย:
                         1. ควรออกระเบียบเพื่อวางหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ให้การรับรอง
             การเข้าถึงสิทธิของผู้สูงอายุในการจ้างงาน และการสร้างความมั่นคงทางสังคมให้ครอบคลุมผู้สูงอายุที่ท างานใน
             ระบบการจ้างงานและนอกระบบการจ้างงาน รวมทั้งการประกอบการของตนเอง นอกเหนือจากการให้
             สวัสดิการจากภาครัฐ โดยกระทรวงแรงงานสามารถเป็นหน่วยงานหลักในการปรับปรุงเพิ่มเติมกฎหมายการ

             จ้างงานผู้สูงอายุที่เกี่ยวข้อง และกระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานหลักอีกหน่วยงานหนึ่งในการปรับปรุง
             กฎหมายกองทุนการออมแห่งชาติและกฎหมายบ านาญแห่งชาติ ว่าจะประสานผลประโยชน์ให้แก่แรงงานทั้งที่
             อยู่ในระบบการจ้างงานและนอกระบบการจ้างงานอย่างไร จึงจะครอบคลุมผู้สูงอายุ ผู้อยู่ข้างหลัง และเมื่อ

             พิการ/ไร้ความสามารถ อาจจะเป็นการบูรณาการงานประกันสังคม และประกันสุขภาพเข้าด้วยกันของทั้งสอง
             กระทรวงในการปรับปรุงกฎหมายในลักษณะของการสร้างความมั่นคงทางสังคม เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ
             ให้ได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน และเป็นมาตรฐานสากล
                         2. ควรปรับปรุงกฎหมายหรือระเบียบการวางผังเมืองเฉพาะที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุในระดับเมือง
             หรือท้องถิ่น หน่วยงานหลัก คือ กระทรวงมหาดไทย โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง และองค์กรปกครองส่วน

             ท้องถิ่น ประสานงานกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความ
             มั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงคมนาคม
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20