Page 14 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 14

viii | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

                       ส าหรับประเทศไทย การคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุจะเน้นด้านสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุบนฐานของ
             แนวคิดว่าผู้สูงอายุเป็นกลุ่มประชากรที่เปราะบาง ระบบประกันสังคมและประกันสุขภาพจะครอบคลุมเฉพาะ
             กลุ่มผู้สูงอายุที่เคยท างานอยู่ในระบบการจ้างงานจากภาครัฐและภาคเอกชน แต่ไม่ครอบคลุมถึงกลุ่มผู้สูงอายุที่

             ท างานอยู่นอกระบบการจ้างงานหรือประกอบกิจการของตนเอง ในแง่ของความมีศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ ซึ่ง
             สามารถตัดสินใจบนทางเลือกต่างๆที่มีอยู่ อาจกล่าวได้ว่า ผู้สูงอายุไทยที่ไม่ใช่กลุ่มเปราะบางและไม่ได้อยู่ใน
             ระบบการจ้างงานที่มีนายจ้าง ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศ ยังไม่มีทางเลือกในการสร้างความ
             มั่นคงทางสังคมที่เหมาะสมกับความต้องการภายใต้การตัดสินใจของตนเอง

                       3. การขาดหลักเกณฑ์ด้านรายได้เพื่อรับสวัสดิการสังคมเพื่อลดการใช้ดุลยพินิจ: การรับ
             สวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุที่เป็นที่รับรู้ของผู้สูงอายุทุกคน คือ เบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นสวัสดิการ
             ครอบคลุมผู้สูงอายุทุกคนถ้วนหน้า (Universal coverage) อย่างไรก็ตามในการให้สวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุ
             ที่ “ยากจน” หรือ “รายได้ต่ า” ยังขาดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการคัดเลือกผู้สูงอายุ ในประเทศต่าง ๆ ที่ศึกษา

             จะมีเกณฑ์ในการก าหนดความยากจนหรือรายได้ต่ าไว้ชัดเจน ที่เรียกว่า เส้นขีดความยากจน (Poverty
             Threshold) หรือ เส้นขีดรายได้ขั้นต่ า (Minimum Income Threshold) เป็นการลดการใช้ดุลยพินิจของ
             ผู้บริหารจัดการคัดเลือกคุณสมบัติของผู้รับสวัสดิการของรัฐได้
                         4. การไม่มีหน่วยปฏิบัติงานในระดับท้องถิ่น: การไม่มีหน่วยปฏิบัติงานในระดับท้องถิ่นของ

             กระทรวงที่รับผิดชอบงานด้านคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
             มนุษย์ หรือ กระทรวงแรงงาน กระทรวงคมนาคม การเคหะแห่งชาติ ซึ่งมีหน่วยงานอยู่ในระดับจังหวัด ยกเว้น
             กระทรวงสาธารณสุขที่มีหน่วยงานปฏิบัติในระดับอ าเภอ ท าให้การปฏิบัติงานความคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ
             ต้องเป็นการขอความร่วมมือจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้กระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีหน่วยปฏิบัติงาน

             ถึงในระดับหมู่บ้านและชุมชน แต่ไม่มีบทบาทหน้าที่โดยตรงในการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุด้านเศรษฐกิจและ
             สังคมในการจ้างงาน การประกันสังคม ยิ่งกว่านั้น วิธีการงบประมาณ ก็เป็นการกระจายงบประมาณไปตาม
             โครงการของแต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบ เกิดปัญหา “การรินไหลของงบประมาณ”ที่ไปหยุดอยู่ที่ระดับ
             จังหวัด/อ าเภอ แต่ไม่สามารถลงไปถึงในระดับท้องถิ่นได้ทันเวลาตามความต้องการในท้องถิ่น รวมทั้งการใช้

             งบประมาณเพื่อโครงการส าหรับผู้สูงอายุในท้องถิ่น หน่วยงานในระดับท้องถิ่นไม่สามารถใช้งบประมาณผิด
             ประเภทและข้ามโครงการระหว่างหน่วยงานกลางได้
                       5. การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน: การขาดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการคุ้มครองสิทธิ
             ของผู้สูงอายุ ทั้งในภาคประชาสังคม ซึ่งได้แก่ องค์กรไม่แสวงหาก าไร และภาคเอกชน ประเทศไทยยังขาด

             ภาคเอกชนที่จะด าเนินการในลักษณะของวิสาหกิจหรือธุรกิจที่ไม่แสวงหาก าไร (Social enterprises) ในการ
             จัดให้บริการแก่ผู้สูงอายุ เพื่อแบ่งเบาภาระกิจและงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ
                       ส าหรับการมีส่วนร่วมของสมาชิกในครอบครัวในการดูและผู้สูงอายุ โดยเฉพาะ คู่สมรส หรือบุตร
             หลานที่มีงานท า แต่ต้องลาออกจากงาน เพื่อมาดูแลผู้สูงอายุที่ช่วยตนเองไม่ได้ บุคคลเหล่านี้ก็ยังไม่ได้รับการ

             คุ้มครองหรือช่วยเหลือจากนโยบายหรือมาตรการใดๆในการส่งเสริมให้มีส่วนร่วม มีมาตรการจูงใจทางภาษี คือ
             การลดหย่อนภาษีในกรณีเลี้ยงดูบุพการี  ในกรณีที่บุพการีไม่มีรายได้   ซึ่งอาจไม่ใช่มาตรการจูงใจพอที่จะช่วย
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19