Page 13 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 13

รายงานการศึกษาวิจัย
                   โครงการการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน


                  ประชาคมอย่างเต็มรูปแบบโดยประกอบด้วยสามประชาคมย่อย คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง
                  ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ก้าวส าคัญของอาเซียนที่ก าลังมาถึงคือปี
                  พ.ศ. 2560 ซึ่งอาเซียนจะครบรอบ 50 ปีภายใต้การเป็นประธานของประเทศฟิลิปปินส์ การท างานของ

                  อาเซียนมีองค์กรหลัก เช่น ที่ประชุมสุดยอดผู้น าอาเซียน (ASEAN Summit) คณะมนตรีประสานงาน
                  อาเซียน (ASEAN Coordinating Council) คณะมนตรีประชาคมอาเซียน (ASEAN Communities
                  Councils) องค์กรระดับกระทรวงรายสาขา (ASEAN Sectoral Ministerial Bodies) และคณะกรรมาธิการ
                  ผู้แทนถาวร (Committee of Permanent Representatives) โดยมีส านักเลขาธิการอาเซียนเป็น

                  หน่วยงานเลขานุการสนับสนุนและประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                         บทที่ 4 แนวคิดและกลไกสิทธิมนุษยชนในอาเซียน

                         ข้อมูลในบทที่ 4 เชื่อมโยงกับบทที่ 3 ที่ว่า แม้ประชาคมอาเซียนจะมิได้จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์
                  แรกเริ่มในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในลักษณะเดียวกับองค์กรในภูมิภาคอื่นโดยเฉพาะในยุโรป
                  อเมริกาและอาฟริกาดังที่น าเสนอไว้ในบทที่ 2 แต่การที่กฎบัตรอาเซียนได้ก าหนดให้สิทธิมนุษยชนเป็น
                  หนึ่งในหลักการพื้นฐานและวัตถุประสงค์ของประชาคมอาเซียนท าให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง
                  ของประชาคมอาเซียนในด้านสิทธิมนุษยชน และนอกจากก าหนดให้สิทธิมนุษยชนเป็นประเด็นเป้าหมาย

                  ของประชาคมแล้ว กฎบัตรอาเซียนยังก าหนดให้อาเซียนจัดตั้งองค์กรเพื่อท าหน้าที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ
                  มนุษยชนโดยตรง ซึ่งน าไปสู่การจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนในอาเซียนขึ้นในปี พ.ศ. 2552 ได้แก่
                  คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) ซึ่งเริ่มก่อตั้งที่ประเทศไทยในครั้งที่

                  ประเทศไทยท าหน้าที่ประธานอาเซียน นอกจาก AICHR แล้ว อาเซียนยังจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนเฉพาะ
                  ด้านอีกสองหน่วยงาน ได้แก่ คณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก
                  (ACWC) และคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยการอนุวัติการตามปฏิญญาการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิแรงงาน
                  ข้ามชาติ (ACMW) โดยคณะกรรมการชุดหลังมีหน้าที่ในการจัดท าตราสารทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมและ

                  คุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติในอาเซียน

                         บทที่ 5 ตราสารสิทธิมนุษยชนในอาเซียน
                         เนื้อหาหลักของรายงานปรากฏในบทที่ 5 โดยจากการส ารวจตรวจสอบตราสารของอาเซียน

                  เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนพบว่า เมื่อเปรียบเทียบกับพัฒนาการขององค์กรระดับภูมิภาคอื่นๆ แล้วอาเซียน
                  ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นในการพัฒนาตราสารเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน โดยแยกพิจารณาเป็นประเด็นหลัก
                  2 ประเด็นคือ ตราสารทางการเมือง และตราสารทางกฎหมาย


                         จากการตรวจสอบตราสารทางการเมืองเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของอาเซียนพบว่า อาเซียนมีตราสาร
                  ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิทธิมนุษยชนจ านวน 24 ฉบับ โดยมีข้อสังเกตดังนี้
                         1) การพัฒนาตราสารที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนของอาเซียนหลายฉบับเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการตรา

                  กฎบัตรอาเซียนในปี พ.ศ. 2550 (มีผลใช้บังคับในปี พ.ศ. 2551) และตราสารต่างๆ ที่ได้ท าแสดงรายชื่อไว้
                  ได้รับการพัฒนาตามเหตุผลและความจ าเป็นเฉพาะด้านตามแต่ละกรณี เช่น เพื่อแก้ไขปัญหาและป้องกัน
                  การก่อการร้าย หรือปัญหาการค้ามนุษย์โดยเป็นการพิจารณาแยกส่วนมิใช่ในองค์รวม เนื่องจากยังขาด
                  หลักการหรือตราสารในด้านสิทธิมนุษยชนในภาพรวมที่จะเป็นจุดเกาะเกี่ยวเพื่อให้สามารถพิจารณาความ





                  National Human Rights Commission of Thailand                                           6
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18