Page 15 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 15

รายงานการศึกษาวิจัย
                   โครงการการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน


                  อาเซียนครั้งที่ 27 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นตราสารที่ส านักเลขาธิการ
                  อาเซียนยังมิได้รวบรวมไว้ในรายชื่อตราสารที่ใช้ในการวิเคราะห์ในครั้งนี้ (เนื่องจากเพิ่งมีการรับรอง)
                  นอกจากอนุสัญญาต่อต้านการค้ามนุษย์ฯ แล้วตราสารทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนที่เหลือ

                  สามารถแยกออกได้เป็นสองประเภท กล่าวคือ กลุ่มที่ก าหนดเนื้อหามี 4 ฉบับได้แก่ อนุสัญญาอาเซียนว่า
                  ด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย และอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการตอบสนองต่อ
                  ภัยพิบัติรวม 3 ฉบับ (ข้อตกลงว่าด้วยการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ 2528 ซึ่งยังไม่มีผลใช้
                  บังคับเนื่องจากยังมีจ านวนประเทศสมาชิกที่ให้สัตยาบันไม่ครบ 6 ประเทศ ข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยมลภาวะ

                  จากหมอกควันข้ามพรมแดน 2545 และข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบสนองต่อ
                  ภาวะฉุกเฉิน 2548 ซึ่ง 2 ฉบับหลังมีผลใช้บังคับแล้ว) และในกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มตราสารที่จัดตั้งองค์กรเพื่อ
                  ท าหน้าที่เฉพาะด้านที่มีผลกระทบต่อประเด็นสิทธิมนุษยชนซึ่งรวมถึงข้อตกลงเพื่อจัดตั้งศูนย์ความ

                  หลากหลายทางชีวภาพอาเซียน และข้อตกลงเพื่อจัดตั้งศูนย์ประสานงานอาเซียนเพื่อการให้ความช่วยเหลือ
                  ด้านมนุษยธรรมในการจัดการภัยพิบัติ

                         บทที่ 6 ทิศทางการพัฒนาและความท้าทายด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียน
                         สิ่งที่ก าหนดทิศทางการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียนที่ส าคัญคือวิสัยทัศน์อาเซียน 2025 ซึ่ง

                  ผู้น าอาเซียนได้รับรองในการประชุมสุดยอดผู้น าอาเซียนครั้งที่ 27 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ในเดือนพฤศจิกายน
                  2558 เพื่อใช้แทนที่วิสัยทัศน์อาเซียน 2015 โดยประเด็นที่ส าคัญเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนจากการวิเคราะห์
                  วิสัยทัศน์ฉบับใหม่ของอาเซียนได้แก่

                         1) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม หรือ ASCC ยังคงเป็นประชาคมที่ก าหนดเป้าหมายและตัวชี้วัด
                  ในด้านสิทธิมนุษยชนที่ชัดเจนที่สุดในบรรดาสามประชาคม และในวิสัยทัศน์ 2025 ยังได้เพิ่มเป้าหมาย
                  เพิ่มขึ้นอีกหลายประการที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับสิทธิมนุษยชน เช่น การน าหลักธรรมาภิบาลเป็น
                  หลักการก ากับการด าเนินการของประชาคมอาเซียนเพื่อประโยชน์ของประชาชน การก าหนดให้หลักการ

                  ความยั่งยืนเป็นหลักการส าคัญของประชาคม และหลักการภูมิคุ้มกันหรือความยืดหยุ่นในการตอบสนองต่อ
                  ความเสี่ยงทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นประเด็นที่ไม่ปรากฏในวิสัยทัศน์ปี 2015
                         2) ประชาคมเศรษฐกิจ หรือ AEC ก าหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ส าคัญส าหรับประเด็นสิทธิ
                  มนุษยชนสองประการคือธรรมาภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งทั้งสองประเด็นนี้สามารถขยายผล

                  ในทางปฏิบัติในการสร้างความร่วมมือระหว่างประชาคมต่างๆ เพื่อจัดท าโครงการหรือการด าเนินการที่จะ
                  เสริมสร้างความตระหนักรู้หรือการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับอาเซียนและประเทศสมาชิกได้ เช่น
                  การจัดท าโครงการหรือการศึกษาผลกระทบจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการเชื่อมต่อในอาเซียน
                  (ASEAN Connectivity) ต่อความยั่งยืนของธรรมชาติ หรือการส่งเสริมธรรมาภิบาลซึ่งรวมถึงหลักการสิทธิ

                  มนุษยชนในภาคส่วนต่างๆ
                         3) ส าหรับประชาคมความมั่นคงและการเมือง หรือ APSC ก าหนดวิสัยทัศน์ที่มีโครงสร้างคล้ายคลึง
                  กับที่ปรากฏในวิสัยทัศน์ปี 2015 แต่ได้ก าหนดรายละเอียดส าหรับ AICHR เพิ่มเติมขึ้นอย่างมีนัยส าคัญ


                         นอกจากนั้น ในบทที่ 6 ยังได้วิเคราะห์ถึงความท้าทายด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียนในประเด็น
                  ต่างๆ โดยเน้นความท้าทายของกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียนโดยเฉพาะ AICHR เนื่องจากเป็นกลไกหลักซึ่ง
                  ความท้าทายหลักของประชาคมอาเซียนเกิดจากโครงสร้างที่แบ่งออกเป็นสาม “เสาหลัก” ในขณะที่ประเด็น





                  National Human Rights Commission of Thailand                                           8
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20