Page 14 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 14

รายงานการศึกษาวิจัย
                   โครงการการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน


                  เชื่อมโยงของแต่ละประเด็นหรือเอื้อให้มีการวางแผนอย่างเป็นระบบได้ นอกจากนั้นตราสารต่างๆ ทั้ง 24
                  ฉบับเป็นตราสารทางการเมืองที่มิได้พัฒนาบนหลักการสิทธิมนุษยชน (Human rights-based approach)
                  แต่ตั้งอยู่บนหลักความมั่นคง (Security) ของภูมิภาค เช่นปัญหาการก่อการร้าย หรือหลักการทางสังคมและ

                  เศรษฐกิจ เช่นปัญหาสิ่งแวดล้อมและแรงงานข้ามชาติ ซึ่งทิศทางนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาหลังจาก
                  ที่กฎบัตรอาเซียนมีผลใช้บังคับแล้ว และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการตราปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนใน
                  ปี พ.ศ. 2552 แล้ว
                         2) เมื่อแยกแยะหมวดหมู่ของตราสารทั้ง 24 ฉบับออกตามประเด็นที่ปรากฏในตราสารสิทธิ

                  มนุษยชนหลักระหว่างประเทศ 9 ฉบับ พบว่ามีหลายประเด็นที่อาเซียนยังมิได้พัฒนาตราสารร่วมกันใน
                  ระดับภูมิภาค โดยเฉพาะประเด็นการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ (Racial discrimination) สิทธิทาง
                  พลเมืองและทางการเมือง (Civil & political rights) การต่อต้านการทรมาน (Prevention of torture)

                  และการป้องกันบุคคลจากการสูญหายโดยบังคับ (Enforced disappearance) ซึ่งน่าจะมีสาเหตุหลัก
                  นอกเหนือจากประเด็นที่ว่ากลไกอาเซียนด้านสิทธิมนุษยชนเพิ่งมีการพัฒนาในปี พ.ศ. 2552 อาจมาจาก
                  กรณีที่ว่าประเทศสมาชิกยังไม่สามารถสร้างฉันทามติร่วมกันในประเด็นต่างๆ ดังกล่าว
                         3) ประเด็นที่มีการพัฒนาตราสารสิทธิมนุษยชน (ทางการเมือง) มากที่สุดคือประเด็นด้านเด็กและ
                  สตรี ซึ่งน่าจะเกิดจากสาเหตุสองประเด็นคือ ประเด็นด้านเด็กและสตรีถือเป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหวน้อย

                  กว่าประเด็นอื่น และประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศต่างได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาด้านสิทธิเด็ก (CRC)
                  และสิทธิสตรี (CEDAW) และ
                         4) ตราสารที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนที่ได้รวมรวมไว้ หลายฉบับได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงใน

                  ด้านสถานะหรือเนื้อหา โดยบางฉบับได้กลายเป็นตราสารที่มีข้อผูกพันทางกฎหมาย เช่นปฏิญญาอาเซียนว่า
                  ด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะในสตรีและเด็ก (ASEAN Declaration against Trafficking in
                  Persons Particularly Women and Children) ซึ่งได้มีการพัฒนามาเป็นอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้าน
                  การค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (ACTIP) ซึ่งมีสถานะเป็นสนธิสัญญาที่ผลผูกพันทางกฎหมาย  หรือได้มี
                                                                                                 1
                  การยกระดับจากการเป็นตราสารที่พัฒนาโดยองค์กรระดับรัฐมนตรีมาเป็นตราสารระดับภูมิภาคที่รับรอง
                  โดยที่ประชุมผู้น าอาเซียนเช่นกรณีปฏิญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรีและเด็กในอาเซียน ซึ่งรับรอง
                  โดยที่ประชุมผู้น าอาเซียนที่กรุงบันดาร์เสรีเบการ์วัน ในปี พ.ศ. 2556 มีที่มาจากปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการ
                  ขจัดความรุนแรงต่อสตรีในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Declaration on the Elimination of Violence

                  Against Women in the ASEAN Region) ซึ่งรับรองโดยที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
                  อาเซียน (AMM) ในปี พ.ศ. 2547 เป็นต้น

                         ส าหรับตราสารทางกฎหมายหรือที่เรียกในทางกฎหมายระหว่างประเทศว่า “สนธิสัญญา” หรือ

                  Hard law จากการตรวจสอบพบว่า อาเซียนได้มีการพัฒนาตราสารด้านสิทธิมนุษยชนของภูมิภาคเพื่อสร้าง
                  มาตรฐานสิทธิมนุษยชนร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกจ านวน 5 ฉบับ และหากจะชี้เฉพาะสนธิสัญญาที่
                  เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนโดยแท้ (กล่าวคือตั้งอยู่บนหลักการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้

                  ทรงสิทธิและ/หรือก าหนดหน้าที่ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมาตรการเยียวยา) จะมีเพียงฉบับเดียวที่เข้าข่าย
                  คือ อนุสัญญาต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (ACTIP) ที่เพิ่งมีการรับรองโดยที่ประชุมผู้น า

                  1  แต่ยังไม่มีผลใช้บังคับเนื่องจากยังต้องรอการให้สัตยาบันโดยสมาชิกอาเซียน 6 ประเทศตาม ข้อ 29(a) แห่งอนุสัญญา
                  ดังกล่าว



                  National Human Rights Commission of Thailand                                           7
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19