Page 8 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 8

รายงานการศึกษาวิจัย
                  เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน


                                       บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary)


                         ในการจัดท างานวิจัยฉบับนี้ ส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มีวัตถุประสงค์
                  หลักในการศึกษาตราสารต่างๆ ในกรอบความร่วมมือของอาเซียน ทั้งในรูปแบบสนธิสัญญา ข้อตกลง

                  ปฏิญญา ซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชนและ/หรือเห็นว่าจะมีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนอย่างสูงโดย
                  เฉพาะที่มีผลผูกพันตามกฎหมาย (Hard law) โดยใช้ฐานข้อมูลตราสารที่ส านักเลขาธิการอาเซียนรวบรวม
                  และเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์อาเซียน อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์ข้อมูลตราสารที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย
                  ของอาเซียนดังกล่าวประกอบกับข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้ข้อสรุปว่าอาเซียนได้จัดท าตราสารทาง

                  กฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนโดยตรงเพียงฉบับเดียว ได้แก่อนุสัญญาอาเซียนต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะ
                  สตรีและเด็ก ซึ่งที่ประชุมผู้น าอาเซียนได้รับรองในการประชุมครั้งที่ 27 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศ
                  มาเลเซีย เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 และอนุสัญญาดังกล่าวยังไม่ได้รับการรวมรวมในฐานข้อมูลที่ใช้
                  เป็นหลักในการวิเคราะห์แต่อย่างใด อย่างไรก็ตามยังมีตราสารทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน

                  อีกจ านวนหนึ่งซึ่งแยกออกได้เป็นสองประเภท กล่าวคือ กลุ่มที่ก าหนดเนื้อหามี 4 ฉบับได้แก่ อนุสัญญา
                  อาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย และอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการ
                  ตอบสนองต่อภัยพิบัติรวม 3 ฉบับ (ข้อตกลงว่าด้วยการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ 2528
                  ซึ่งยังไม่มีผลใช้บังคับเนื่องจากยังมีจ านวนประเทศสมาชิกที่ให้สัตยาบันไม่ครบ 6 ประเทศ ข้อตกลงอาเซียน

                  ว่าด้วยมลภาวะจากหมอกควันข้ามพรมแดน 2545 และข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและ
                  การตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน 2548 ซึ่ง 2 ฉบับหลังมีผลใช้บังคับแล้ว) และในกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มตราสารที่
                  จัดตั้งองค์กรเพื่อท าหน้าที่เฉพาะด้านที่มีผลกระทบต่อประเด็นสิทธิมนุษยชนซึ่งรวมถึงข้อตกลงเพื่อจัดตั้ง

                  ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพอาเซียน และข้อตกลงเพื่อจัดตั้งศูนย์ประสานงานอาเซียนเพื่อการให้
                  ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในการจัดการภัยพิบัติ

                         จากการวิจัยพบว่า ตราสารเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนส่วนใหญ่ที่อาเซียนได้จัดท าขึ้นอยู่ในรูปแบบตรา
                  สารทางการเมือง (Political instrument) ซึ่งแม้จะไม่มีผลผูกพันตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
                  แต่แสดงเจตจ านงร่วมกันของประเทศสมาชิกในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในหลายประเด็น

                  และหลายฉบับก าหนดขั้นตอนที่น าไปสู่การจัดท าตราสารทางกฎหมายด้วย โดยมีจ านวน 24 ฉบับ ทั้งนี้
                  ตราสารที่ส าคัญที่สุดในด้านสิทธิมนุษยชนของอาเซียน คือปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN Human
                  Rights Declaration) ซึ่งผู้น าอาเซียนประกาศใช้ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 และก าหนดรับรอง
                  สิทธิมนุษยชนต่างๆ ที่ปรากฏในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนพร้อมทั้งสิทธิใหม่ๆ อีกหลายประการ
                  เช่น สิทธิในการพัฒนา สิทธิในสันติภาพ สิทธิในข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล และสิทธิในสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืน

                  ปฏิญญานี้ถือเป็นตราสารหลักของอาเซียนในการด าเนินการด้านสิทธิมนุษยชน

                         ในการวิจัยยังชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการที่ส าคัญของอาเซียนในด้านสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในประเด็น
                  ดังต่อไปนี้
                         1. การตรากฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งถือเป็นธรรมนูญของอาเซียนที่มีผลใช้บังคับใน

                  ปี พ.ศ. 2551 ได้ก าหนดให้อาเซียนมีสถานะทางกฎหมายระหว่างประเทศ (Legal personality) แม้กฎบัตร
                  อาเซียนมิใช่ตราสารด้านสิทธิมนุษยชนโดยตรง แต่เป็นเอกสารพื้นฐานที่ก าหนดโครงสร้างของประชาคม
                  อาเซียน โดยให้ประชาคมอาเซียนตั้งอยู่บนหลักการหลายประการ รวมถึงหลักนิติรัฐ ประชาธิปไตย และ
                  การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพพื้นฐานของประชาชนอาเซียน นอกจากนั้นยังก าหนด




                  National Human Rights Commission of Thailand                                           1
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13