Page 11 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 11

รายงานการศึกษาวิจัย
                   โครงการการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน


                         1. เพื่อคัดเลือกและรวบรวมตราสารในกรอบความร่วมมือของอาเซียน ทั้งในรูปแบบของ
                  สนธิสัญญา ข้อตกลง ปฏิญญา ที่เกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชน และ/หรือเห็นว่าจะมีผลกระทบต่อสิทธิ
                  มนุษยชนอย่างสูง โดยเฉพาะที่มีผลผูกพันตามกฎหมาย (hard law) จากรายการที่ส านักเลขาธิการอาเซียน

                  (ASEAN Secretariat) ได้รวบรวมไว้ตั้งแค่ปี พ.ศ. 2510 – 2555 และที่ได้มีการจัดท าหรือรับรองขึ้น
                  หลังจากนั้นจนถึงวันท าสัญญาจ้าง (พฤศจิกายน พ.ศ. 2558)
                         2. เพื่อจัดหมวดหมู่และสรุปสาระ/ประเด็นส าคัญของตราสารตามที่ได้รับการคัดเลือกตามข้อ 1
                  เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจในภาพรวมของตราสารฉบับนั้นๆ


                  ขอบเขตการศึกษา
                         การศึกษาวิจัยครั้งนี้เน้นการศึกษาเจาะลึกตราสารต่างๆ ในกรอบความร่วมมือของอาเซียนซึ่ง

                  เกี่ยวข้องและ/หรือเห็นว่าจะมีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนอย่างสูง โดยมีขอบเขตการศึกษาวิจัยและการ
                  ด าเนินงาน ดังนี้
                         1. ศึกษาตราสารต่างๆ ในกรอบความร่วมมือของอาเซียน ทั้งในรูปแบบสนธิสัญญา ข้อตกลง
                  ปฏิญญา ซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชนและ/หรือเห็นว่าจะมีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนอย่างสูงโดย
                  เฉพาะที่มีผลผูกพันตามกฎหมาย (Hard law) จากรายการที่ส านักเลขาธิการอาเซียนได้รวบรวมไว้ตั้งแต่ปี

                  พ.ศ. 2510 - 2555 ซึ่งปรากฏรายการเอกสารตามเว็บไซต์ http://www.asean.org/archive/document
                  และที่ได้มีการจัดท าหรือรับรองขึ้นหลังจากนั้น จนถึงวันท าสัญญา (พฤศจิกายน พ.ศ. 2558) ซึ่งต่อมามี
                  การขยายขอบเขตระยะเวลาจนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 เพื่อให้ครอบคลุมถึงระยะเวลาการประชุมสุด

                  ยอดผู้น าอาเซียนครั้งที่ 27 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ที่ได้มีการรับรองเอกสารส าคัญที่
                  เกี่ยวข้องกับการศึกษาในครั้งนี้หลายฉบับ เช่น วิสัยทัศน์อาเซียน 2025 และอนุสัญญาอาเซียนเพื่อต่อต้าน
                  การค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก เป็นต้น
                         2. ศึกษาตราสารที่เกี่ยวข้องกับพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนทั้งทางตรงและทางอ้อมของอาเซียนที่

                  ส านักเลขาธิการอาเซียนได้ท าการรวบรวมไว้ตามเว็บไซต์ http://agreement.asean.org/ รวมทั้งศึกษา
                  ปฏิญญา (Declarations) ที่มีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนของอาเซียน
                         3. จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องในระหว่างการด าเนินการศึกษาวิจัย เพื่อรับฟัง
                  ความคิดเห็นต่อร่างรายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์จ านวน 2 ครั้ง (จากส านักงาน กสม./หน่วยงานที่

                  เกี่ยวข้อง) เพื่อการพัฒนา ปรับปรุง และแก้ไขรายงานการศึกษาวิจัยให้มีความสมบูรณ์ก่อนการน าส่ง
                  รายงานผลการศึกษาวิจัยในงวดสุดท้าย โดยกรอบการน าเสนอร่างรายงานต้องผ่านความเห็นชอบจาก
                  คณะกรรมการตรวจรับงานจ้างที่ปรึกษาก่อน
                         4. วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลและผลการศึกษาที่ด าเนินการตามขอบเขตการศึกษารวมทั้ง

                  ข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการศึกษาวิจัย เพื่อการจัดท ารายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์
                         5 จัดเวทีร่วมกับส านักงาน กสม. ให้ความรู้ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของ
                  ประชาคมอาเซียน ให้แก่เจ้าหน้าที่ส านักงาน กสม. และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายหลังจากการ

                  ด าเนินการตามข้อ 4 เสร็จสิ้นแล้วจ านวน 2 ครั้ง โดยมีผู้เข้าร่วมครั้งละ 30 คน







                  National Human Rights Commission of Thailand                                           4
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16