Page 10 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 10

รายงานการศึกษาวิจัย
                  เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน


                                                         1 บทน า


                         สิทธิมนุษยชนนับเป็นหลักการส าคัญในการค านึงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมโดยไม่มี
                  การเลือกปฏิบัติ และยังเป็นหลักประกันการแสดงออกทางความคิด สิทธิ และเสรีภาพต่างๆ นอกจากนี้สิทธิ

                  มนุษยชนยังมีความส าคัญในการสร้างสังคมและการด าเนินนโยบายทางการเมืองภายใต้ระบอบ
                  ประชาธิปไตย ประชาคมโลกเริ่มให้ความสนใจในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนภายหลังการเกิด
                  สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations) ได้ประกาศ “ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ
                  มนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights: UDHR)” ในปี พ.ศ. 2491 เพื่อแสดงเจตนารมณ์

                  ร่วมกันในการก าหนดมาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ซึ่งเอกสารฉบับดังกล่าวเป็นหลักการ
                  ส าคัญในการจัดท าพันธกรณีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในหลายภูมิภาคทั่วโลก

                         ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เองก็ได้ค านึงถึงความส าคัญของสิทธิมนุษยชนเช่นเดียวกัน จึงได้

                  มีการจัดท ากฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ในปี พ.ศ. 2551 และปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
                  (ASEAN Human Rights Declaration) ในปี พ.ศ. 2555 ที่มีการระบุถึงการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิ
                  มนุษยชนอันเป็นไปตามหลักการของ UDHR เช่นกัน ตลอดจนการจัดให้มีกลไกที่ท าหน้าที่ในการส่งเสริม
                  สนับสนุนและประสานความร่วมมือประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค เช่น คณะกรรมาธิการระหว่าง

                  รัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights:
                  AICHR) และคณะกรรมาธิการด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและเด็ก (ASEAN Commission on
                  the Promotion and Protection of the Rights of Women and Children: ACWC) เป็นต้น


                         การจัดตั้งประชาคมภายในปี พ.ศ. 2558 ส่งผลกระทบต่อประเทศสมาชิกทั้งทางตรงและทางอ้อม
                  ในหลากหลายด้าน สิทธิมนุษยชนก็เป็นด้านหนึ่งที่อาเซียนและสมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศจ าเป็นต้องมี
                  การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับต่อสถานการณ์ต่างๆ ของโลกที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้าน
                  เศรษฐกิจและสังคม อันน าไปสู่ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน ดังนั้น ประเทศไทยควรต้องเตรียมความพร้อมโดย

                  การสร้างความเข้าใจต่อกรอบความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาค เพื่อรองรับผลกระทบจาก
                  ความหลากหลายของเชื้อชาติภายหลังการเปิดเสรีในด้านต่างๆ ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
                  โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาครัฐซึ่งมีภาระหน้าที่โดยตรงด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน


                         คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ในฐานะองค์กรที่มีอ านาจหน้าที่ส าคัญในการ
                  ตรวจสอบและรายงานการกระท าหรือการละเลยการกระท าอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือกรณีที่
                  ไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี ได้เล็งเห็นความส าคัญ
                  ของประเด็นดังกล่าวประกอบกับความจ าเป็นที่ต้องเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพันธกรณีด้านสิทธิ

                  มนุษยชนในระดับอาเซียนซึ่งประเทศไทยอยู่ในข่ายต้องปฏิบัติตามให้กับเจ้าหน้าที่ของทั้ง กสม. และ
                  เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องโดยทั่วไป จึงได้มอบหมายให้มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์กร
                  ภาครัฐ (IRDP) ซึ่งตระหนักถึงภารกิจของ กสม. และความส าคัญของประเด็นดังกล่าวจัดท ารายงานขั้นต้น

                  เพื่อศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้







                  National Human Rights Commission of Thailand                                           3
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15