Page 8 - สิทธิชุมชนในมุมมองระดับโลก
P. 8

ในส่วนที่ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย  ควรเอ่ยถึงไว้สามฉบับเพื่อเป็นแนวทางส าหรับการ

                  ด าเนินการต่อไปได้แก่  ร่างปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยหลักการสิทธิปวงชนพื้นเมือง (UN Draft
                  Declaration on the Rights of Indigenous Peoples (DDRIP)) 1994,  ร่างปฏิญญาสหประชาชาติว่า
                  ด้วยหลักการสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม (UN Draft Declaration of Principles on Human Rights

                  and the Environment (DDHRE)) 1994, และปฏิญญาไลป์ซิกว่าด้วยสิทธิเกษตรกร (Leipzig

                  Declaration on Farmers’ Rights)

                         จากแหล่งต่างๆ อันหลากหลายเหล่านี้  เราพอจะสรุปประเด็นเกี่ยวกับ สิทธิในทรัพยากรตาม
                  จารีต  ของปวงชนท้องถิ่นพื้นเมืองได้ดังนี้

                        ๑.  การก าหนดใจตนเองและการพัฒนา

                        ๒.  การจัดสรรความอุดมสมบูรณ์และทรัพยากรธรรมชาติ

                        ๓.  การปกป้องวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย
                        ๔.  เสรีภาพทางศาสนา
                        ๕.  บูรณภาพทางสภาพแวดล้อม

                        ๖.  สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

                        ๗. การยอมรับกฎหมายและวิถีปฏิบัติตามประเพณี
                        ๘.  สิทธิของเกษตรกร

                         ข้อ (๑) และ (๒)  ยังมีความคลุมเครือเกี่ยวกับประเด็นอาณัติทางกฎหมาย  ในขณะที่ CBD

                  ยืนยันในหลักสิทธิแห่งอธิปไตยของรัฐเหนือผืนดิน ดินแดนและทรัพยากรธรรมชาติของปวงชน
                  พื้นเมือง ส่วน ICESCR และ ICCPR นั้นเน้นสิทธิของบรรดา ‚ปวงชน‛ ในลักษณะพหุพจน์ในการ

                  ก าหนดใจตนเองและจัดสรรความอุดมสมบูรณ์และทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นอิสระ   จาก
                  สภาพการณ์ดังกล่าว  ปวงชนพื้นเมืองกลุ่มต่างๆ จึงตั้งค าถามต่อการที่สิทธิในอ านาจอธิปไตยอาจแผ่

                  ขยายคุกคามวิถีแห่งความรู้  การสร้างสรรค์  และการด าเนินกิจการต่างๆของพวกเขาได้  ซึ่งก็เป็น
                  ค าถามที่ชอบธรรม  ส่วนอีกด้านหนึ่ง  ทัศนะที่เอื้อประโยชน์ต่อชนกลุ่มน้อยก็มักถูกต่อต้านโดย

                  รัฐบาลของชาติต่างๆ เพราะเกรงว่าจะน ามาซึ่งความเสื่อมสลายของบูรณภาพแห่งชาติและสิทธิใน
                  อ านาจอธิปไตย  ดังนั้นเมื่อมองโดยรวมถึงข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย  ควบคู่

                  ไปกับโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอ านาจที่เป็นอยู่  ย่อมต้องเกิดช่องว่างและข้อขัดแย้งที่ไม่อาจหาทาง
                  ออกได้   ในแง่นี้จึงนับเป็นการเหมาะสมที่ได้มีการริเริ่มแนวทางใหม่จากภายในสหประชาชาติเอง

                  โดยอาศัยกระบวนการปรึกษาหารืออย่างต่อเนื่องยาวนานกับผู้น าปวงชนพื้นเมืองทั้งหลาย  บังเกิด
                  ผลเป็น DDRIP ซึ่งกอปรด้วยเค้าโครงที่อาจน ามาใช้ได้อย่างครอบคลุมพอสมควร  และแม้จะเป็น

                  เครื่องมือที่ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย  แต่ DDRIP ก็จัดว่าเป็นตราสารระหว่างประเทศอันเป็น
                  บรรทัดฐาน  น าไปสู่การอภิปรายและการเจรจาเกี่ยวกับปวงชนพื้นเมืองที่จะเกิดขึ้นตามมา  หลัก

                  พื้นฐานแห่งสิทธิของปวงชนพื้นเมืองตามแนวทางของ DDRIP มีสรุปไว้ในงานวิจัยของ IUCN ที่ได้
                  กล่าวถึงข้างต้น จึงใคร่ขอน ามาอ้างอิงอย่างครบถ้วนไว้ในที่นี้ เพื่อประโยชน์แก่ทั้งผู้เข้าร่วมการ

                                                        7
                  ประชุมสัมมนาตลอดทั้งผู้น าชุมชนทั้งหลาย


                                                             ๖
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13