Page 9 - สิทธิชุมชนในมุมมองระดับโลก
P. 9

(๑)    สิทธิในการก าหนดใจตนเอง การมีผู้แทนของตน  และการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่

                         (๒)      การให้การยอมรับสนธิสัญญาทั้งหลายที่ปวงชนพื้นเมืองได้กระท าไว้ก่อนหน้าแล้ว
                         (๓)      สิทธิที่จะก าหนดความเป็นพลเมืองของตนและพันธกรณีของการเป็นพลเมือง
                         (๔)      สิทธิในบรรดาสิทธิมนุษยชนทั้งหลายทั้งโดยกลุ่มและโดยปัจเจกชน

                         (๕)      สิทธิในการด าเนินชีวิตอย่างมีเสรีภาพ สันติสุข  และมั่นคง  ปลอดจากการแทรกแซง

                             หรือข้องเกี่ยวด้านการทหาร
                         (๖)      สิทธิในเสรีภาพทางศาสนาและการคุ้มครองสถานที่หรือวัตถุอันศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้ง
                             ระบบนิเวศ พันธุ์พืชและสัตว์

                         (๗)      สิทธิในการเรียกค่าเสียหายและได้รับการชดเชยส าหรับทรัพย์สินในทางวัฒนธรรม

                             ภูมิปัญญา ศาสนาหรือจิตวิญญาณ ที่ถูกยึดครองหรือน าไปใช้โดยปราศจากความตกลง
                             ยินยอม
                         (๘)      สิทธิในการยินยอมโดยสมัครใจและได้รับข้อมูลล่วงหน้า

                         (๙)      สิทธิที่จะควบคุมการเข้าถึงและแสดงความเป็นเจ้าของต่อพันธุ์พืช สัตว์ และแร่ธาตุ

                             อันจ าเป็นอย่างยิ่งยวดต่อวัฒนธรรมของพวกเขา
                         (๑๐)  สิทธิในการครอบครอง พัฒนา และควบคุมการใช้ผืนดินและอาณาบริเวณ  รวมทั้ง
                             สภาพแวดล้อมทั้งหมด  อันประกอบด้วยที่ดิน อากาศ น้ า ชายฝั่ง น้ าแข็งในทะเล พืชและ

                             สัตว์ ตลอดจนทรัพยากรอื่นๆ ซึ่งพวกเขาเคยเป็นเจ้าของ ครอบครอง หรือใช้ประโยชน์

                             ตามจารีตประเพณี
                         (๑๑)  สิทธิในมาตรการพิเศษเพื่อคุ้มครองและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการ
                             แสดงออกทางวัฒนธรรมของพวกเขา  รวมไปถึงทรัพยากรมนุษย์  และทรัพยากรทาง

                             พันธุกรรมอื่นๆ เมล็ดพันธุ์ ยา ความรู้ในคุณสมบัติของสัตว์และพืช จารีตมุขปาฐะ

                             วรรณกรรม งานออกแบบ และทัศนศิลป์และศิลปะการแสดง
                         (๑๒)  สิทธิในค่าสินไหมทดแทนที่เป็นธรรมเหมาะสมส าหรับการอันใดก็ตามที่ก่อให้เกิด
                         ผลกระทบอันคุกคาม  ในทางสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมหรือจิตวิญญาณ


                         ไม่ว่าจะมีผลผูกพันทางกฎหมายหรือไม่ก็ตาม  สิทธิ - หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง การอ้างหลัก
                  ศีลธรรม - ตามที่ได้ล าดับมานี้  ถึงที่สุดแล้วย่อมขึ้นอยู่กับว่า จะเป็นที่ยอมรับและเคารพในฐานะเป็น

                  หลักอันชอบธรรมอย่างหนักแน่นเพียงใดในสังคม  ประเทศไทยเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้  เพราะแม้
                  จะมีบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญให้กับสิทธิชุมชนเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและความหลากหลายทาง

                  ชีวภาพก็ตาม  แต่การอ้างหลักศีลธรรมดังที่ปรากฏในบทบัญญัติเหล่านี้ ยังห่างไกลจากความเป็นจริง
                  ในทางปฏิบัติยิ่งนัก  นี่ก็เป็นเพราะแบบแผนทางกฎหมายหรือศีลธรรมอันใดก็ตาม  ย่อมไม่อาจด ารง

                  อยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง  หากปราศจากฐานสนับสนุนทางสังคมและวัฒนธรรม  ที่กล่าวเช่นนี้ไม่ใช่
                  เพื่อแสดงความไม่พอใจหรือความสิ้นหวัง ซึ่งเป็นอาการอันอ่อนแอฉาบฉวยเกินไป  เพราะนี่เป็น

                  ธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย  ที่จะต้องเริ่มด้วยกระบวนการทางสังคม  ดุจเดียวกับกระบวนการต่อสู้เพื่อ
                  เสรีภาพอันเข้มข้นทั้งหลายในประวัติศาสตร์มนุษย์  ข้อแตกต่างประการส าคัญนั้นอยู่ที่ว่า  ปวงชน





                                                             ๗
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14