Page 6 - สิทธิชุมชนในมุมมองระดับโลก
P. 6

ตะวันตก  นับแต่การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมเมื่อหลายศตวรรษที่ผ่านมา   หากจะขอ

                  ยืมเอาวลียอดนิยมของ แซมมวล  ฮันติงตัน  มาใช้  คงต้องกล่าวว่า  นี่ต่างหากที่เป็น ‚การปะทะกัน
                  ของอารยธรรม (clash of civilizations)‛ ที่แท้จริง แต่เกิดขึ้นในบริบทของการปะทะกันระหว่างโลกาภิ
                  วัตน์กับการฟื้นฟูท้องถิ่น   หรืออาจจะใช้ศัพท์แสงคุ้นหูแบบเศรษฐศาสตร์การเมือง  ก็อาจเรียกได้ว่า

                  เป็นการปะทะกันระหว่างระบอบรวบอ านาจเบ็ดเสร็จระดับโลกกับการปลดปล่อยและประชาธิปไตย

                  ระดับรากหญ้า   กระแสการเผชิญหน้าทางวัฒนธรรมดังกล่าวนี้คงจะเป็นสถานการณ์หลักของ
                  ศตวรรษที่ ๒๑ ที่ก าลังด าเนินไปอยู่นี้  เราจึงควรส ารวจพิจารณาพลังผลักดันทั้งในแง่บวกและแง่ลบ
                  เพื่อร่วมกันหาวิถีและวิธีการในการถางทางให้สังคมโลกของเราด าเนินสู่เสรีภาพ  ความยุติธรรม

                  เสถียรภาพและสันติวิธีอันแท้จริง


                  ฐานคิดระดับโลกในลักษณะที่ก้าวหน้าและเป็นประชาธิปไตย

                         ข้อพิจารณาข้างต้นเชื่อมโยงประเด็นทั้งหมดสู่โลกของการเมืองด้านสิทธิมนุษยชน  เราจึงควร

                  มาดูกันว่ามันเป็นไปอย่างไรในชีวิตจริง  โดยจะขอน าเสนอประเด็นเชื่อมโยงกันสองประการให้
                  พิจารณาในเบื้องต้น   ประการแรกเกี่ยวกับธรรมชาติและความเป็นจริงในเรื่องสิทธิมนุษยชนเอง  และ

                  อีกประการหนึ่งเกี่ยวกับการจัดตั้งเครื่องมือระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนในแบบที่ก้าวหน้าและ
                  เป็นประชาธิปไตยในส่วนของสหประชาชาติ

                         ในประการแรก  สิทธิมนุษยชนไม่ใช่สิ่งที่ได้มาเพราะมีใครหยิบยื่นให้  ดังที่  โทนี่  เอแวนส์
                  ได้ตั้งข้อสังเกตจากประวัติศาสตร์ว่า  สิทธิมนุษยชนทั้งหลาย  ‚เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งและพิทักษ์

                  รักษาข้ออ้างโดยศีลธรรม  ซึ่งสร้างความชอบธรรมให้กับผลประโยชน์เฉพาะต่าง ๆ‛  หรือตามที่  นีล
                  สแตมเมอรส์  สรุปได้อย่างรัดกุมว่า  ‚แนวคิดและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนนั้น ประชาชนเป็น

                                                                                  3
                  ผู้สร้างขึ้น ในสถานการณ์เฉพาะทางประวัติศาสตร์  สังคม และเศรษฐกิจ‛    และหากมองจากความ
                  เป็นจริงที่เกิดขึ้น   ก็จะเห็นได้ว่า  สิทธิมนุษยชนเป็นผลลัพธ์โดยตรงจากการต่อสู้ และมิได้เป็นสมบัติ

                  ของวัฒนธรรมหรือจารีตใดเป็นการเฉพาะเลย  ความข้อนี้  ไฮเนอร์  บีลเฟลด์  ได้วิเคราะห์สรุปไว้
                  อย่างชัดเจนว่า


                          “....สิทธิมนุษยชนไม่ได้พัฒนาขึ้นในฐานะ “การผลิบานโดยธรรมชาติ”  ของแนวคิด
                         มนุษยนิยมที่ฝังรากลึกอยู่ในจารีตทางวัฒนธรรมและศาสนาของยุโรป  ในทาง

                         ตรงกันข้าม  ประชาชนในโลกตะวันตก  ก็ต้อง (และยังต้อง)  ต่อสู้ให้สิทธิของพวก
                         เขาได้รับการเคารพเช่นกัน....สิทธิเหล่านี้....เป็นการบรรลุผลที่เกิดจากความขัดแย้ง

                         ทางการเมือง   เป็นเวลายาวนาน  ในช่วงกระบวนการเข้าสู่ภาวะสมัยใหม่ของยุโรป
                         หาได้เป็นมรดกนิรันดรจากขุมทรัพย์ทางวัฒนธรรมอันเป็นแบบฉบับของยุโรปแต่

                         อย่างใดเลย”
                                     4
                         ในแง่นี้  จึงเป็นเรื่องที่ไม่ต้องเถียงกันอีกต่อไป   ว่าเรื่องสิทธิมนุษยชนนั้น เราควรจะใช้
                  มุมมองแบบสารัตถนิยมหรือสัมพัทธนิยมทางวัฒนธรรม  ฝ่ายสารัตถนิยมก็ยกให้ตะวันตกผูกขาดค า

                  จ ากัดความของสิทธิมนุษยชน  ฝ่ายสัมพัทธนิยมก็ใช้ความไม่เป็นตะวันตกปฏิเสธความเป็นสากล



                                                             ๔
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11