Page 5 - สิทธิชุมชนในมุมมองระดับโลก
P. 5

และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา   ทรัพยากรทางพันธุกรรมก็ได้

                  กลายเป็นเป้าหมายหลักในการที่จะยึดกุมเศรษฐกิจโลก  ภายใต้แรงผลักดันของการท าก าไรสูงสุดและ
                  การเติบโตทางเศรษฐกิจล้วนๆ  ทั้งหมดนี้เป็นภัยคุกคามที่ชัดเจนต่อระบบนิเวศอันเปราะบางของโลก
                  ซึ่งก็ย่อมส่งผลต่อผู้คนที่อิงอาศัยระบบนิเวศเหล่านี้ กล่าวโดยย่อ นี่คือภัยคุกคามต่อสิทธิพื้นฐานใน

                  ชีวิตของประชาชน

                         ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว ประเด็นเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น

                  จึงต้องท าความเข้าใจด้วยมุมมองขององค์รวมแห่งภูมิภาค มิใช่เป็นส่วนๆ ดังที่เคยกระท ามา กล่าวคือ
                  ควรเป็นมุมมองเชิงคุณภาพโดยองค์รวมมากกว่าที่จะเป็นมุมมองเชิงปริมาณแบบลดทอนแยกส่วน

                  มุมมองอย่างที่กล่าวนี้ย่อมแฝงไว้ด้วยความสามารถในการมองเห็นองค์รวมทางภูมิศาสตร์ตลอดจน
                  ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างปวงชนต่อปวงชน  ทุกวันนี้  มีการมีพูดกันมากและมีโครงการเชิง

                  ปฏิบัติการอยู่ไม่น้อยที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งและเสริมพลังให้กับประชาชนและชุมชนท้องถิ่น   แต่
                  หากปราศจากความส านึกและการปูทางให้เกิดแนวทางพื้นฐานและการสร้างพลังร่วมกันแล้ว  การ

                  พูดคุยหรือกระท าการทั้งหลายก็ย่อมไม่เกิดผลอันใด  แม้ว่าจะจริงใจมุ่งมั่นเพียงใดก็ตาม  และจาก
                  ประสบการณ์ของผม  นี่แหละคือส่วนที่ยากที่สุดของภารกิจทั้งปวง  แต่ก็เป็นเงื่อนไขแรกสุดที่มาก่อน

                  เรื่องอื่นๆ  ด้วยเหตุนี้  จึงใคร่ขอน าเสนอมุมมองสามประการ  ซึ่งสัมพันธ์กันและกัน  ให้ที่ประชุมได้
                  พิจารณาดังนี้

                         (๑)   ความหลากหลายทางชีวภาพ  เป็นสิ่งที่เราต้องเข้าใจและด าเนินการ  ในฐานะที่เป็น

                  ฐานทรัพยากรเขตร้อนหนึ่งเดียว  อันจะน าซึ่งแนวทางร่วมกันและการรวมพลังกัน โดยข้ามพ้นเส้น

                  แบ่งและการแบ่งแยกชุมชนท้องถิ่นทั้งหลาย  ไม่ว่าจะเป็นภายในชาติหรือระหว่างชาติก็ตาม
                         (๒)   ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างพื้นที่และประชาชนทั้งในเขตเทือกเขา  ที่ราบลุ่ม
                  และท้องทะเล   เพื่อรวมกันเป็นเครือข่ายชุมชนฐานทรัพยากร  ซึ่งต่างก็ถูกภัยคุกคามของโลกาภิวัตน์

                  และชนชั้นน าที่แปลกแยกผลักสู่ชายขอบ  และ

                         (๓)   การตระหนักร่วมกันว่า  จะต้องมีการปฏิรูปตนเองบนพื้นฐานของการพึ่งตนเองและสิทธิ
                  ในการพัฒนา  เพื่อให้แหล่งความรู้ ความสร้างสรรค์ ที่มีอยู่ภายในชุมชน  ได้รับการฟื้นฟูพัฒนาขึ้น
                                                                                                       2
                  เป็นฐานให้กับการน าเอาความรู้สมัยใหม่มาปรับใช้และสอดประสานอย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสม

                         แน่นอนว่าการประชุมครั้งนี้ย่อมครอบคลุมเรื่องเหล่านี้อยู่แล้ว   แต่สิ่งส าคัญนั้นอยู่ที่การเน้น
                  ย้ าและผลักดันสู่นโยบายและแผนยุทธศาสตร์ที่แจ่มชัดในการกระท าร่วมกัน  แท้ที่จริง  ปวงชนและ

                  ชุมชนทั้งหลายทั่วโลกก็ได้เริ่มกระท าการด้วยตัวเองกันแล้ว  ถึงขั้นที่ก่อให้เกิดแนวคิดใหม่ในเรื่อง
                  สิทธิกลุ่มชนบนพื้นฐานวิถีชีวิตของชุมชน  ซึ่งย่อมมีรูปแบบและแนวปฏิบัติหลากหลาย  กระแสพหุ

                  นิยมทางวัฒนธรรมดังกล่าวนี้  นับเป็นปรากฏการณ์อย่างใหม่ส าหรับวิถีปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน
                  ชนิดที่ยึดเอาปัจเจกบุคคลและแบบแผนอิทธิพลทางวัฒนธรรมแบบเดียวเป็นตัวตั้ง  ซึ่งตะวันตก

                  ทึกทักเอาเองว่าเป็นสากล  กระแสที่ว่านี้จะต้องประสบกับการต่อต้านคัดค้านอย่างหนักหน่วง  ถึงขั้น
                  ที่จะจ้องท าลายกันเลยทีเดียว เพราะไม่เพียงแต่จะเป็นการท้าทายที่ลงรากลึกถึงจิตวิญญาณและภูมิ

                  ปัญญาเท่านั้น   แต่ยังเป็นการทวนกระแสครอบง ามุ่งครองความเป็นเจ้า ที่แฝงเร้นอยู่ในอารยธรรม



                                                             ๓
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10