Page 4 - สิทธิชุมชนในมุมมองระดับโลก
P. 4

1
                  เศรษฐกิจหนึ่งเดียวแต่กอปรด้วยหลายระดับ‛     เหตุผลก็มิใช่กระไรอื่น  นอกไปจากกระบวนการที่
                  แฝงอยู่ในระบบเสรีนิยมเอง  ที่ก่อให้เกิดการผลิตล้นเกินและการบริโภคล้นเกิน   เพื่อจะได้น ามาซึ่ง
                  ก าไรสูงสุด  หรือที่เลี่ยงไปเรียกให้สวยหรูว่าความเติบโตทางเศรษฐกิจ  และนับวันแนวความคิดใหม่ๆ
                  ท านองนี้  ก็จะมีผู้รับฟังกันมากขึ้นทุกที   แต่ก็ต้องขอเตือนท่านทั้งหลายว่านี่ไม่ใช่เรื่องที่จะสักแต่ท า

                  ให้รู้สึกยินดีปรีดากันไป  ประเด็นส าคัญนั้นอยู่ที่การที่เราจะต้องเข้าใจถึงพลวัตของกระบวนความ

                  เป็นไปแห่งชีวิตและเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์   ซึ่งจะเป็นภารกิจอันหนัก
                  หน่วงทั้งต่อผู้ได้เปรียบและผู้เสียเปรียบดุจเดียวกัน


                  สร้างสรรค์แนวทางสู่อัตลักษณ์แห่งภูมิภาค

                         ด้วยเหตุนี้    ในการที่เราจะให้ความสนใจต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นและความหลากหลายทาง

                  ชีวภาพ   จึงส าคัญอย่างยิ่งยวดที่จะต้องมองให้เห็นแนวโน้มในระยะยาวของประเด็นทั้งหมด
                  กล่าวคือเราจะต้องมองข้ามพ้นกระบวนการจัดการทรัพยากรชนิดตอบสนองความต้องการของชีวิต

                  แบบวันต่อวัน   ซึ่งหากผมเข้าใจไม่ผิด จากหลักฐานงานวิจัยเชิงประจักษ์ของเรา   เรามีตัวอย่างเป็น
                  จ านวนมากที่แสดงให้เห็นถึงชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์และชาวชนบท   ที่กอปรด้วยจารีตในการปฏิบัติอัน

                  มั่นคงเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรและการด าเนินชีวิตด้วยวิถีอันยั่งยืน  และแน่นอนว่ากรณีศึกษา
                  แต่ละกรณี  ก็ย่อมสามารถน าไปปรับใช้กับที่อื่นๆ ได้ด้วยเช่นกัน   ดังที่ปัจจุบันพวกเราก็ก าลังกระท า

                  กันอยู่  แต่นี่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของประเด็นทั้งหมด  ปัญหาที่แท้จริงในระยะยาวนั้นอยู่ที่ว่า   เราจะ
                  ท าให้ผู้คนได้ตระหนักถึงแนวทางร่วมโดยพื้นฐานซึ่งเชื่อมโยงกันและกัน  จนกลายเป็นพลังอัน

                  เข้มแข็งได้อย่างไร และจะเริ่มที่ตรงไหน   อันที่จริง  ชื่อการประชุมสัมมนาครั้งนี้เองก็บอกอะไรในตัว
                  มันเองอยู่แล้ว คือ ‚เอเชียอาคเนย์เทือกเขาแผ่นดินใหญ่ (Montane Mainland Southeast Asia)‛

                  และนี่ก็คือกุญแจสู่ความเข้าใจกว้างไกลยิ่งขึ้น เกี่ยวกับสิ่งที่เราก าลังพยายามกระท าและบรรลุผลกัน
                  อยู่  ได้แก่  มิติองค์รวมแห่งเอเชียอาคเนย์ ในฐานะฐานทรัพยากรเขตร้อน และบูรณภาพของภูมิภาค

                  แห่งนี้  มิใช่เพียงความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นส่วนเสี้ยว ที่แยกขาดจากกัน
                  โดดๆ


                         ดังที่เราทั้งหลายทราบกันดี  เอเชียอาคเนย์มีฐานะเป็นทั้งยุทธศาสตร์บนเส้นทางเดินเรือจาก
                  ตะวันออกกลางสู่ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก  และเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ร่ ารวยด้วยทรัพยากรเขตร้อน

                  สูงสุด   ด้วยเหตุนี้ ภูมิภาคนี้จึงตกอยู่ภายใต้การแข่งขันยึดครองของอ านาจตะวันตกเรื่อยมา   นับ
                  จากช่วงหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมและจักรวรรดินิยมที่ตามมา   ครั้นเมื่อได้มาซึ่งเอกราชและสิ่งที่

                  เรียกว่า ‚การก าหนดใจตนเอง (self determination)‛  ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง   การณ์ก็หา
                  ได้ดีขึ้นนักไม่  แต่กลับเป็นการน ามาซึ่งพลังอ านาจที่เร่งเร้าความแตกแยกและการขูดรีดทรัพยากร

                  หนักข้อขึ้นไปอีก   ในนามของภารกิจสร้างชาติ การท าให้ทันสมัย  แล้วก็ตามมาด้วยการพัฒนาผิด
                  ทิศทาง  ตลอดช่วงเหล่านี้  ทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่นอันล้ าค่า  รวมทั้งชุมชนท้องถิ่น

                  ของเอเชียอาคเนย์  ต้องตกเป็นเหยื่อซ้ าแล้วซ้ าเล่า  ของรูปแบบการกดขี่ขูดรีด การข่มเหงลิดรอน
                  สิทธิ์นานัปการ  ดังที่เราก็ยังเห็นกันอยู่ทุกวันนี้   และในขณะนี้  จากกระแสโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ




                                                             ๒
   1   2   3   4   5   6   7   8   9