Page 10 - สิทธิชุมชนในมุมมองระดับโลก
P. 10

พื้นเมืองและชุมชนชนบทในทุกวันนี้มิได้ยืนอยู่อย่างโดดเดี่ยวในประเด็นเหล่านี้  อย่างน้อยที่สุด ก็มี

                  มติสาธารณะส่วนหนึ่งและขบวนการประชาชนเป็นอันมาก  เริ่มให้ความสนับสนุนอย่างเปี่ยมด้วย
                  ความหมาย  แม้ว่าจะยังต้องเผชิญหน้ากับอ านาจครอบง าต่างๆ มากมายก็ตาม


                  การเมืองระดับโลกว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในลักษณะล้าหลังและอ านาจนิยม

                         องค์ประกอบหลักอันสัมพันธ์กันสองประการที่ขวางกั้นเส้นทางพัฒนาการสู่เสรีภาพและ

                  ความก้าวหน้าของมวลมนุษย์  ก็คือ  แนวความคิดเดิมๆ ประการหนึ่ง และระบบตลาดรวบอ านาจ
                  เบ็ดเสร็จ อีกประการหนึ่ง  องค์ประกอบประการแรกนั้นเป็นเรื่องของค าจ ากัดความว่าด้วยสิทธิ

                  มนุษยชนที่ตกทอดมาจากอดีต  แน่นอนว่าโลกตะวันตกในอดีตเป็นผู้จุดประกายโลกทั้งผอง  ด้วย
                  แนวคิดสมัยใหม่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  แต่แล้วโลกตะวันตกก็กลับติดอยู่

                  กับแนวคิดเหล่านั้นที่พัฒนาขึ้นใน ‚สภาพการณ์เฉพาะทางประวัติศาสตร์ สังคมและเศรษฐกิจ‛ ของ
                  ศตวรรษที่สิบเจ็ดและสิบแปด  นี้เป็นเหตุให้ความหมายและขอบข่ายของสิทธิมนุษยชนถูกจ ากัดวงให้

                  แคบอยู่เพียงสิทธิที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพปัจเจกชน  สิทธิในทรัพย์สิน และหลักนิติธรรม  หรือกล่าว
                  โดยย่อ  ก็คือบรรดาสิทธิที่ด าเนินการทางตุลาการได้  ความข้อนี้เห็นได้ชัดจากข้อโต้แย้งของ  เจเรมี

                  เบนแธม ที่มีต่อค าประกาศของการปฏิวัติฝรั่งเศส  ว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง  ซึ่งเป็นค า
                  ประกาศสิทธิตามธรรมชาติอันมิอาจแปลกแยกจากประชาชนทั้งปวงได้  โดยเบนแธมได้วิจารณ์อย่าง

                  แรงว่า

                         “สิทธิ...เป็นลูกของกฎหมาย   จากกฎหมายของจริง  จึงเกิดมีสิทธิของจริง….แต่

                         จากกฎฝันเฟื่อง  จากกฎธรรมชาติ ที่นึกฝันปั้นแต่งโดยกวี นักโวหาร และนักค้ายา
                         พิษทางศีลธรรมและภูมิปัญญา จึงเกิดมีสิทธิประเภทฝันเฟื่อง  อันเปรียบได้กับฝูง
                                                         8
                         ลูกอ่อนนอกสมรสของเหล่าอสุรกาย”

                         นี่จึงเป็นเหตุให้ในโลกตะวันตก บรรดาสิทธิในทางเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มชนมักถูกมอง
                  ว่าอยู่นอกมาตรฐานสิทธิมนุษยชน  และถือเป็นเพียงเรื่องของนักมนุษยธรรมและผู้มีความกรุณา

                  รวมทั้งเป็นเรื่องของสวัสดิการทางสังคม  ทั้งหมดนี้ยังคงเป็นไป  ทั้งๆ ที่ทางสหประชาชาติก็ได้เน้น
                  ย้ ามานานพอสมควรแล้ว  ถึงหลักแห่งการอิงอาศัยซึ่งกันและกันและมิอาจแบ่งแยกจากกันได้

                  ระหว่างสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองในด้านหนึ่ง กับสิทธิทางเศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรมใน
                  อีกด้านหนึ่ง   เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เข้าใจได้ไม่ยากนักเมื่อมองในแง่ประวัติศาสตร์  เพราะแท้ที่จริงแล้ว

                  พลังผลักดันจริงๆ ที่อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติเสรีนิยมในอดีต  ก็มิใช่อะไรอื่นนอกจากชนชั้นพาณิชย์และ
                  ชนชั้นกลาง  หรือพวกที่มีทรัพย์  และแม้ตราบทุกวันนี้  บรรดาคุณค่าและจารีตแบบเสรีนิยมที่ยัง

                  เทิดทูนกันอยู่  ก็ยังได้รับการหล่อเลี้ยงด้วยพลังผลักดันเดียวกันนี้  โดยมีทัศนคติพื้นฐานเป็นปฏิปักษ์
                  ต่อทั้งรัฐและพวกที่ไม่มีทรัพย์   ความเป็นปฏิปักษ์ประการหลังนี้ยังคงเป็นเป้าที่ส าคัญอยู่ ทั้งนี้เพราะ

                  นักเสรีนิยมก็ได้ครองอ านาจรัฐเองแล้ว   ดังนั้นในบริบทที่ว่านี้  จึงไม่แปลกอะไรที่เสรีภาพของ
                  พลเมืองและเสรีภาพทางการเมืองจะถือเป็นมาตรฐานของสิทธิมนุษยชน  และมาตรฐานนี้ก็ไม่ควรไป






                                                             ๘
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15