Page 8 - รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ : ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
P. 8

รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ
        ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน



        กสม. กับกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนข้ามพรมแดนของไทย



                                                1
               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.)   ได้ติดตามและตรวจสอบ
        กรณีร้องเรียนการละเมิดสิทธิชุมชน  และการจัดการฐานทรัพยากรในกรณีของ
        บุคคล/กลุ่มบุคคลสัญชาติไทยที่เป็นองค์กรภาครัฐ และ/หรือมิใช่ภาครัฐ (state and

        non-state  actors)  ที่จัดท�าโครงการพัฒนาหรือธุรกิจขนาดใหญ่ในประเทศเพื่อน
        บ้าน ตามกรณีร้องเรียนต่างๆ ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา ทั้งในราชอาณาจักรกัมพูชา
        สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยมี
        กระบวนการด�าเนินงาน  ครอบคลุม  (1)  การแสวงหาข้อเท็จจริงจากผู้ถูกกล่าวหา
        กระท�าการละเมิด  และ/หรือการตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่ในกรณีที่เป็นพื้นที่
                                                 2
        ของประเทศไทย หรือเป็นเส้นพรมแดนระหว่างประเทศ   (2) การประสานงานกับ
        องค์กรพัฒนาระหว่างประเทศ  และ/หรือภายในท้องถิ่นของประเทศนั้นๆ  ในการ
        ออกแบบ  และจัดท�าการศึกษาหรือวิจัยเพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงในกรณีที่เป็นพื้นที่
                     3
        นอกประเทศไทย   (3) การจัด น�าเสนอ และ/หรือเข้าร่วมการประชุมเชิงวิชาการ
                                                         4
        ระหว่างประเทศเพื่อน�าเสนอและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับพื้นที่ต่างๆ (4)  การจัดท�า
        รายงานการตรวจสอบ และพิจารณาการละเมิดสิทธิมนุษยชน พร้อมกับน�าเสนอต่อ



        1  เริ่มต้นโดย กสม. ชุดที่สอง (คณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร โดยมีนายนิรันดร์ พิทักษ์
        วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นประธาน) และ กสม. ชุดที่สาม (คณะอนุกรรมการ และคณะท�างาน
        ด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร  โดยมีนางเตือนใจ  ดีเทศน์  กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เป็นประธาน)
        2  โดยพิจารณาถึงเขตอ�านาจรัฐ หรือกฎหมายของประเทศไทย (Jurisdiction) เป็นส�าคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
        กรณีโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ในแม่น�้า  หรือแหล่งทรัพยากรร่วมของประเทศต่างๆ  อาทิ  แม่น�้าสาละวินใน
        ชายแดนระหว่างราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และแม่น�้าโขง ในชายแดนระหว่างราช
        อาณาจักรไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
        3  โดยพิจารณาถึงหลักการส�าคัญของธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ที่ค�านึงถึงความรับผิดชอบของรัฐต่อการกระท�า
        ของธุรกิจที่ถือสัญชาติของรัฐนั้นๆ อาทิ กรณีข้อพิพาทอุตสาหกรรมผลิตน�้าตาลสัญชาติไทยกับการจัดการที่ดิน
        ในจังหวัดเกาะกง  และอุดรมีชัย  ราชอาณาจักรกัมพูชา  และกรณีการจัดท�าเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายโดยการ
        ด�าเนินการของธุรกิจร่วมทุนสัญชาติไทย และอื่นๆ ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
        4  อาทิ การเข้าร่วมการประชุมทางวิชาการด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคเอเชีย และการน�าเสนอต่อที่
        ประชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และเกษตรพาณิชย์ (SEA Conference on Human Rights and Ag-
        ribusiness) ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา ตลอดจนการน�าเสนอต่อที่ประชุมระดับโลกว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษย
        ชน (Forum of Business and Human Rights) ในปี 2556 และการเข้าร่วมการดังกล่าวจนถึงปัจจุบัน


        4
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13