Page 6 - รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ : ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
P. 6

รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ
        ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน



        11  โครงการลงทุนโดยตรงของไทย  เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการลงทุนโดยตรง
        เท่านั้น โดยการลงทุนสะสมในช่วงปี 2548 – 2559 ไทยลงทุนโดยตรงในประเทศ

        เมียนมา, สปป.ลาว, กัมพูชา และเวียดนาม โดยรวมมีมูลค่าเท่ากับ 114,362.01,
        75,874.58, 32,287.83, 107,503.71 ล้านบาท ตามล�าดับ ซึ่งได้มีการลงทุนหลัก ๆ
        ในภาคไฟฟ้า ขุดเจาะก๊าซ-น�้ามัน ไอน�้าและระบบปรับอากาศภาคบริการทางการเงิน
        ภาคอุตสาหกรรมการผลิต (เช่น น�้าตาล, สิ่งทอ) ธุรกรรม การกู้ยืมระหว่างบริษัท
        ในเครือ สินเชื่อการค้า ภาคการท�าเหมืองแร่และเหมืองหิน และผลิตภัณฑ์คอนกรีต
        เป็นต้น    มูลเหตุส�าคัญที่ดึงดูดและผลักดันการลงทุนของไทยสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
        จากงานวิจัยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้นได้ระบุว่าเป็นการแสวงหา
        ตลาดและแหล่งทรัพยากรใหม่ ๆ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการกระจายความเสี่ยง
               เนื้อหาหลักของรายงานฉบับนี้ ได้แบ่งประเด็นหลัก ๆ ได้แก่

        การศึกษาภาพรวมของการลงทุนโดยตรงของไทยทั่วโลกและในภูมิภาคอาเซียน,
        นโยบายส่งเสริมการลงทุนของประเทศในภูมิภาค  CLMV,  สถานการณ์ตรวจสอบ
        โครงการต่าง ๆ โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ถึงเดือนกันยายน 2560),
        กรณีศึกษา  12  กรณี  (ในแต่ละกรณีจะได้ศึกษาถึงรูปแบบการลงทุน,  หน่วยงาน
        องค์กร  หรือสถาบันที่เกี่ยวข้อง,  ผลกระทบด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน,  ชุมชน
        และสิ่งแวดล้อม)
               รายงานฉบับนี้ได้ข้อค้นพบส�าคัญ คือ สถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
        จากการลงทุนโดยตรงในประเทศเพื่อนบ้านนั้น เกิดจากปัจจัยส�าคัญ อาทิ
        ช่องว่างการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม,  ช่องว่างของกฎหมาย  ตลาดหลักทรัพย์-
        แห่งประเทศไทย,  ช่องว่างของกฎหมายคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ,  การ
        เปิดเผยข้อมูลและกระบวนการรับฟังความเห็นที่ไม่สมบูรณ์,   ความรับผิดชอบของ

        ธนาคารพาณิชย์ที่ให้เงินกู้แก่โครงการต่าง ๆ เป็นต้น
               อย่างไรก็ตาม  ถึงแม้ว่าคณะรัฐมนตรีจะได้มีมติให้ด�าเนินการปรับปรุง
        การลงทุนของภาคเอกชนไทย  ได้แก่กรณี  โครงการปลูกอ้อยและจัดตั้งโรงงาน
        น�้าตาล โอดอร์เมียนเจย ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2560 และ





        2
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11