Page 11 - รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ : ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
P. 11

ร่วมกันสร้างหลักประกัน การก�าหนดแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน พร้อมกับจัดท�า
                กลไก ติดตาม ก�ากับ ดูแล และรับผิดชอบที่เข้มแข็ง เพื่อสร้างความโปร่งใสและ
                การปฏิบัติตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม  โดยใช้เป็นแนวทางการ

                ด�าเนินโครงการและธุรกิจในต่างประเทศของวิสาหกิจจากไทย
                       เอกสาร “รายงานการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ” ฉบับนี้ เป็นหนึ่ง
                ในความพยายามติดตามและประเมินสถานการณ์ดังกล่าว  ซึ่งได้น�าเสนอเนื้อหาที่

                แสดงให้เห็นถึงลักษณะการลงทุนข้ามพรมแดนของไทยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  ทั้งที่เป็นโครงการซึ่งได้รับความสนับสนุน
                จากรัฐและโครงการของเอกชน  อันส่งผลให้เกิดข้อกังวลเกี่ยวกับผลกระทบด้าน
                สิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมอันเป็นผลมาจากการลงทุนเหล่านี้  โครงการขนาด
                ใหญ่ของไทยซึ่งลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านหลายโครงการเชื่อมโยงกับการละเมิด
                สิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะเป็นโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย เขื่อนไฟฟ้าพลังน�้า
                ในแม่น�้าสาละวินของพม่า  แปลงปลูกอ้อยที่จังหวัดเกาะกงและอุดรมีชัยในกัมพูชา
                เหมืองถ่านหินที่หงสาและโรงไฟฟ้าเขื่อนไซยะบุรีและโครงการไฟฟ้าพลังน�้าอื่น ๆ
                บนแม่น�้าโขงในสปป.ลาว

                       ที่ผ่านมาชุมชนท้องถิ่นทั้งในและนอกประเทศไทย  แลทั้งในและนอกพื้นที่
                ซึ่งได้รับผลกระทบจากการด�าเนินโครงการในลักษณะดังกล่าว  ต่างเรียกร้องให้มีการ
                ตรวจสอบตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม  ทั้งโดยการฟ้องร้องด�าเนินคดี
                ในศาลและกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย  และการใช้สิทธิต่าง  ๆ  ตามกลไก
                แบบกึ่งทางการและอื่น  ๆ  ที่มิใช่ศาล  โดยแนวโน้มส�าคัญล่าสุดภายหลังจากการ
                ติดตาม ตรวจสอบกรณีร้องเรียนเกี่ยวกับผลกระทบจากการลงทุนข้ามพรมแดนกลไก

                สิทธิมนุษยชนต่าง  ๆ  ได้มีข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดท�าข้อบังคับเพื่อก�าหนดพันธกรณี
                ด้านสิทธิมนุษยชนนอกอาณาเขต (extraterritorial human rights obligations - ETOs)
                อย่างเป็นรูปธรรม  โดยใช้บังคับกับการด�าเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ  วิสาหกิจ  และ
                ภาคเอกชน เพื่อให้มีการป้องกันผลกระทบ การตรวจสอบ และการเยียวยาฟื้นฟูเมื่อเกิด
                การละเมิดขึ้น เพื่อประกันให้มีการปฏิบัติตามหลักการ UNGPs และมติ ครม. ดังกล่าว





                                                                           7
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16