Page 12 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
P. 12

11



                 กรณีที่ ๑๓ กรณีกล่าวอ้างว่าการระงับการก่อสร้างเส้นทางเชื่อมโยงอำาเภอคลองลาน จังหวัดกำาแพงเพชร

                 ถึงอำาเภออุ้มผาง จังหวัดตาก เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน (รายงานผลการพิจารณา ที่ ๑๐๒๖/๒๕๖๐)
                 กรณีที่ ๑๔ กรณีกล่าวอ้างว่าการขุดลอกคลองส่งผลกระทบต่อพลับพลึงธาร (รายงานผลการตรวจสอบ

                 ที่ ๑๑๐๐-๑๑๐๑/๒๕๖๐)                                                                               รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

               ๔. การชี้แจงและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องในกรณีที่มีการรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนใน
             ประเทศไทยโดยไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม การเตรียมการดำาเนินการในเรื่องนี้ กสม. ได้แต่งตั้งคณะทำางานภายใน   ประจำาปีงบประมาณ ๒๕๖๑
             ประกอบด้วยผู้ชำานาญการประจำา กสม. ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่สำานักงาน กสม. สำาหรับปีงบประมาณ ๒๕๖๑
             กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่ามีการรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยบางส่วนซึ่งไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม
             และได้ดำาเนินการตรวจสอบและชี้แจงข้อเท็จจริง รวมทั้งเผยแพร่ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไปจำานวน ๒ เรื่อง

             ได้แก่ ๑) รายงานสรุปสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนทั่วโลก ครั้งที่ ๒๘ ประจำาปี ๒๕๖๑ (World Report 2018 และ
             รายงาน “โซ่ที่ซ่อนไว้ : การปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิและแรงงานบังคับในอุตสาหกรรมประมงไทย” (Hidden Chains:
             Forced Labor and Rights Abuses in Thailand’s Fishing Industry) ขององค์กรฮิวแมน ไรทส์ วอทช์ (Human

             Rights Watch-HRW) และ ๒) รายงานการดำาเนินการด้านสิทธิมนุษยชนของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา
             นอกจากนี้ ยังมีรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับประเทศไทยที่ยังไม่พบข้อห่วงกังวลที่จะต้องมีการตรวจสอบ
             และชี้แจงหรือจัดทำารายงานจำานวน ๓ เรื่อง ได้แก่ ๑) รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลก ประจำาปี ๒๕๖๐/๒๕๖๑
             ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำาประเทศไทย ๒) รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน นิติรัฐที่พังทลาย : รายงาน
             ๔ ปี ภายใต้ คสช. สิทธิมนุษยชนและผลพวงรัฐประหารต่อสังคมไทย โดยศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน โครงการ

             อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) และ ๓) รายงาน Statement ของคณะผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติประณาม
             การใช้กฎหมายเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทเพื่อปิดปากนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

               ๕. การสร้างเสริมทุกภาคส่วนของสังคมให้ตระหนักถึงความส�าคัญของสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย
                 ๕.๑  งานด้านสิทธิมนุษยชนศึกษา มีผลการดำาเนินงาน คือ ๑) แผนส่งเสริมสิทธิมนุษยชนตามยุทธศาสตร์
             คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๕  ๒) การประชุมหารือแนวทางการบูรณาการความร่วมมือ

             เพื่อส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชน จำานวน ๓ ครั้ง รวมทั้งสิ้น ๓๐ หน่วยงาน ๓) การจัดทำาหลักสูตรสิทธิมนุษยชน
             ศึกษาในกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย จำานวน ๕ หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรสิทธิมนุษยชนศึกษารายวิชาพื้นฐาน หลักสูตร
             สิทธิมนุษยชนศึกษารายวิชาเฉพาะในกระบวนการ หลักสูตรสิทธิมนุษยชนสำาหรับนักบริหารระดับสูง หลักสูตร

             ฝึกอบรมธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนสำาหรับผู้บริหาร และหลักสูตรธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนสำาหรับรัฐวิสาหกิจ และ
             ๔) การจัดทำาบันทึกความร่วมมือการส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชนกับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย
                 ๕.๒  โครงการ/กิจกรรมด้านการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ กสม. ได้จัดโครงการสัมมนา

             และกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการเคารพและการปฏิบัติตามหลักการสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย (๑) การส่งเสริม
             สิทธิมนุษยชน อาทิ โครงการสร้างความเข้มแข็งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “การลงโทษ
             ทางอาญากับหลักสิทธิมนุษยชน” โครงการเสวนาวิชาการ “การดำาเนินการตามหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วย
             ธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : กรณีศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการเยียวยาและระงับข้อพิพาทโดยภาคธุรกิจไทย” โครงการ

             เผยแพร่และขับเคลื่อนหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน  โครงการจัดงานวัน
             สิทธิมนุษยชนสากล ๑๐ ธันวาคม ประจำาปี ๒๕๖๑ การจัดแข่งขันโต้วาทีสิทธิมนุษยชนภาษาอังกฤษระดับอุดมศึกษา
             (๒) การประสานงานเครือข่าย เช่น การประสานความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา ประชาชน และองค์การเอกชน
             ด้านสิทธิมนุษยชน โครงการส่งเสริมสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ : รวมญาติชาติพันธุ์ชาวเล ครั้งที่ ๘ ในหัวข้อ รัฐธรรมนูญ

             กับเขตการคุ้มครองทางวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ การส่งเสริมการทำางาน และร่วมกิจกรรมกับองค์กรที่ได้ทำาความตกลง
             ร่วมมือกับสำานักงาน กสม. (๓) การประชาสัมพันธ์เพื่อสื่อสารสิทธิมนุษยชน เช่น โครงการผลิตสื่อเผยแพร่ความรู้
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17