Page 13 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
P. 13

12      ด้านสิทธิมนุษยชนในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โครงการผลิตสื่อเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนในรูปแบบ



      รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  อินโฟกราฟิก โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อการสื่อสารสิทธิมนุษยชน โดยผ่านกลไกคณะทำางานสื่อสารองค์กรของ กสม.



             โครงการจัดงานวันสตรีสากล ๘ มีนาคม “การประกาศเกียรติยศสตรีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ประจำาปี ๒๕๖๑”
             งานประกาศผลรางวัล “อรรธนารีศวร ครั้งที่ ๑ ประจำาปี พ.ศ. ๒๕๖๐” งานรำาลึก วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ : ๑๐ ปีที่
             จากไป โครงการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อการสร้างเสริมสิทธิมนุษยชนในกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย และการออกแบบ
        ประจำาปีงบประมาณ ๒๕๖๑
             และพัฒนาเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้สิทธิมนุษยชน โครงการเผยแพร่ข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริม

             และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของ กสม. ผ่านสื่อออนไลน์ โครงการพัฒนาการจัดทำาข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทาง
             ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โครงการสัมมนาเพื่อเตรียมความพร้อมในบทบาทผู้ร้องทุกข์ในคดีอาญา
             แทนผู้เสียหาย โครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพในด้านสิทธิมนุษยชนและด้านกระบวนการยุติธรรม
             เพื่อนำามาใช้ในการปฏิบัติงาน

                 ๕.๓  งานความร่วมมือในระดับระหว่างประเทศทั้งตามกรอบความร่วมมือและนอกเหนือจากกรอบ
             ความร่วมมือ ประกอบด้วย

                         ๑) ความร่วมมือกับสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในระดับต่าง ๆ ดังนี้ ความร่วมมือในระดับสากลภายใต้
             กรอบพันธมิตรระดับโลกว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (GANHRI) ความร่วมมือในระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
             ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APF) และความร่วมมือ

             ระหว่างสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANF) ซึ่งในปี ๒๕๖๑ กสม. ไทยได้ทำาหน้าที่
             เป็นประธาน SEANF และได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่ (Technical Working Group-TWG) ๒ ครั้ง
             การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การละเมิดสิทธิมนุษยชนและผลกระทบข้ามพรมแดน : การแก้ไขปัญหาช่องว่าง
             ของการคุ้มครองโดยผ่านกลไกความรับผิดชอบนอกอาณาเขต” และการจัดประชุมประจำาปีของ SEANF ครั้งที่ ๑๕

                         ๒) ความร่วมมือกับกลไกสิทธิมนุษยชนของอาเซียน ได้แก่ การเข้าร่วมประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการที่จัด
             โดยคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) ในหัวข้อต่าง ๆ เช่น การนำาแนวทางสิทธิมนุษยชน
             มาจัดทำายุทธศาสตร์ระดับภูมิภาคเพื่อการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิผล การจัดการเสรีภาพ

             ในการแสดงออกในยุคข้อมูลข่าวสาร การแลกเปลี่ยนตัวอย่างการปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับธุรกิจและสิทธิมนุษยชน
                         ๓) ความร่วมมือกับกลไกสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ได้แก่ การเข้าร่วมประชุม UN Forum on
             Business and Human Rights ครั้งที่ ๖ การเข้าร่วมประชุมเรื่อง Gender Lens to the UN Guiding Principles on

             Business and Human Rights และการประชุมกับคณะทำางานของสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชนกับบรรษัทข้ามชาติ
             และองค์กรธุรกิจอื่น ๆ

                         ๔) ความร่วมมือกับสถาบันสิทธิมนุษยชนและหน่วยงานภาครัฐของต่างประเทศ ได้แก่ ความร่วมมือกับ
             สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของมัลดีฟส์ และกระทรวงการต่างประเทศเดนมาร์ก
                         ๕) ความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศและองค์กรภาคประชาสังคมต่างประเทศ เช่น สหภาพยุโรป

             องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) สถาบันยุทธศาสตร์และการบริหารของสาธารณรัฐ
             ประชาชนจีน มูลนิธิ ANFREL และธนาคารโลก

                         ๖) ผลงานส�าคัญอื่น ๆ ในการด�าเนินงานด้านต่างประเทศ ได้แก่ การจัดทำาข้อมูลเพื่อประกอบคำาขอ
             ทบทวนสถานะ (re-accreditation) ของ กสม. เพื่อส่งไปยังสำานักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
             ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะอนุกรรมการประเมินสถานะ (SCA)

               ๖. การบริหารจัดการและการพัฒนาองค์กร
                 ๖.๑  งานสนับสนุนภารกิจหลักตามหน้าที่และอ�านาจ ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ กสม. ดำาเนินการเพื่อสนับสนุน

             ภารกิจหลักตามหน้าที่และอำานาจ ดังนี้
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18