Page 14 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 14

ผังเมืองกับก�รคุ้มครองสิทธิชุมชน
                                                                                         และสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน



             สำานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย เป็นต้น ในการให้

             มีการประเมินผล ถอดบทเรียนและสรุปเป็นความรู้ ความเข้าใจ ในด้านการวางผัง การมีส่วนร่วมในการ

             วางผัง และการปฏิบัติตามผังรวมทั้งการนำาผังเมืองไปใช้ประโยชน์แก่ท้องถิ่น ภาคเอกชน ชุมชน
             ภาคประชาสังคมและประชาชนทั่วไป เพื่อให้กระบวนการผังเมืองซึ่งเป็นนโยบายสาธารณะและมีผล

             ทางกฎหมายในทางปฏิบัตินี้ มีการพัฒนาองค์ความรู้ การกำาหนดแนวทางพัฒนาพื้นที่ การแก้ไขปัญหา

             ด้วยการมีส่วนร่วม ส่งเสริมสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน

                    2) การส่งเสริมการวางผังชุมชนด้วยการมีส่วนร่วม โดยเป็นกรมโยธาธิการและผังเมืองซึ่งมีแนวทาง

             การพัฒนาเครือข่ายผังเมืองและส่งเสริมการวางผังชุมชนอยู่แล้ว ควรพัฒนา ขยายผลนำาคู่มือผังเมือง

             มามีส่วนร่วมกับองค์กรที่จัดทำาผังตำาบล ผังชีวิต เพื่อให้มีการเชื่อมโยงผังตำาบลมาสู่ผังชุมชนที่เป็น
             การกำาหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินและการจัดทำาข้อบัญญัติท้องถิ่นและการนำาผังเมืองไปใช้ประโยชน์ใน

             การจัดทำาธรรมนูญชุมชน


                2.2 ข้อเสนอแนะในด้านผังเมือง



                    ข้อเสนอระยะสั้น

                    1) การประเมินผลกระทบระดับยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ในการจัดทำาผังเมือง

                    การจัดทำาผังเมืองในระดับนโยบายและผังที่ครอบคลุมพื้นที่ที่มีการจัดทำาแผน นโยบายของรัฐใน

             หลายด้าน เช่น พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษพื้นที่จังหวัดหรือพื้นที่เฉพาะที่จะมีการพัฒนาที่จะมีการใช้ประโยชน์

             ที่ดินที่ขัดแย้ง ต้องมีการประเมินผลกระทบระดับยุทธศาสตร์ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม (SEA - Strategic
             Environmental Assessment) เช่น พื้นที่แผนพัฒนาภาคใต้ซึ่งมีนโยบายการพัฒนาด้านพลังงาน

             ด้านการคมนาคมขนส่ง ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีความขัดแย้งกับการใช้พื้นที่เพื่อความมั่นคงทาง

             อาหาร การท่องเที่ยว เป็นต้น เพื่อให้เกิดทางเลือกการใช้ประโยชน์พื้นที่เพื่อการพัฒนาที่เหมาะสมที่เป็น

             การร่วมกำาหนดและลดความขัดแย้งในระดับโครงการ อีกทั้งเป็นแนวทางการวางผังในระดับชุมชนอีกด้วย

                    การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ เป็นเครื่องมือและกลไกที่ใช้เชื่อมประสานการทำางาน

             ของหลายฝ่ายเข้าด้วยกัน เริ่มจากการกำาหนดทิศทางการพัฒนาให้เกิดดุลยภาพทั้งเศรษฐกิจ สังคม และ

             สิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันบนฐานกระบวนการที่ผู้มีส่วนได้เสียได้เข้ามาร่วมตัดสินใจเลือกการพัฒนานั้นๆ
             โดยมีพื้นฐานของการบริหารจัดการที่ดี มีความรับผิดชอบร่วมกัน การพิจารณาฐานศักยภาพ เงื่อนไข

             บริบทต่างๆ ทั้งทางบวกและลบจึงเป็นทั้งเครื่องมือและกลไกหนึ่งที่จะนำามาสู่การบูรณาการทั้งความคิด

             และการปฏิบัติการ ให้เกิดการทำางานอย่างมีระบบและมีกระบวนการตัดสินใจอย่างมีส่วนร่วม โดยมุ่งเป้า

             ของการพัฒนาที่ยั่งยืนบนศักยภาพและเงื่อนไขของการพัฒนาในระยะยาว ซึ่งการพัฒนานโยบายและ
             แผนที่เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่นี้ กระบวนการ SEA จะมีส่วนสำาคัญในการกำาหนดเป้าประสงค์การพัฒนา

             และทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์




                                                            13
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19