Page 15 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 15

13
                                                   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                   ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                     กรณีมีการชุมนุมต้องนำากฎหมายที่ใช้ในภาวะปกติมาใช้บังคับก่อน เว้นแต่การชุมนุมโดยสงบ

                     แปรเปลี่ยนเป็นสถานการณ์วิกฤตหรือจลาจลที่กระทบความมั่นคง หรือความไม่สงบเรียบร้อยอย่าง
                     ร้ายแรง จึงนำากฎหมายความมั่นคงมาบังคับใช้  ไม่สมควรนำาพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกฯ มา

                     ใช้ควบคุมการชุมนุมไม่ว่ากรณีใด  การนำาผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำาผิดเข้าสู่กระบวนการอบรมตาม
                     พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรฯ มาตรา ๒๑ ซึ่งใช้ในพื้นที่มีเหตุการณ์

                     ไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ ต้องมีคณะบุคคลทำาการพิจารณาว่าบุคคลนั้นกระทำาผิดจริง ยอมกลับใจ
                     ยินยอมเข้ารับการอบรมโดยสมัครใจ  การตีความมาตรา ๙ (๑) (ตรวจค้นร่างกาย) ประกอบมาตรา

                     ๑๕ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกฯ (กักตัว) ต้องทำาอย่างเคร่งครัด โดยสามารถทำาได้เฉพาะ
                     การตรวจร่างกายภายนอก ไม่ควรรวมการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรม (DNA)

                                ในเชิงกฎหมาย  คณะกรรมการฯ เห็นว่า การประกาศใช้ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกฯ

                     โดยอาศัยอำานาจตามมาตรา ๒ นั้น ต้องใช้กรณีเกิดสงครามหรือจลาจลเท่านั้น ไม่ใช้สำาหรับการทำา
                     รัฐประหาร  ต้องกำาหนดระยะเวลาการประกาศใช้  ควรแก้ไขมาตรา ๔ โดยให้ผู้บัญชาการทหารใน
                     พื้นที่  หากจะประกาศใช้กฎอัยการศึก ต้องขอความเห็นชอบจากผู้บัญชาการเหล่าทัพด้วย และแก้ไข

                     มาตรา ๑๖ โดยให้ผู้เสียหายจากการบังคับใช้กฎหมายนี้  สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากการกระทำา

                     ของเจ้าหน้าที่ทหารได้
                                ส่วน พระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ  คณะกรรมการฯ มี

                     ความเห็นว่า ควรแก้ไขมาตรา ๕ โดยให้นายกรัฐมนตรีมีอำานาจประกาศใช้กฎหมายนี้ในครั้งแรก
                     หากต้องขยายระยะเวลา ให้ขอความเห็นชอบจากรัฐสภา แก้ไขมาตรา ๑๖ โดยให้ข้อพิพาทที่เกิดจาก

                     การใช้อำานาจตามกฎหมายนี้อยู่ในอำานาจการพิจารณาของศาลยุติธรรม  หากเป็นข้อพิพาททางแพ่ง
                     หรืออาญา  หากเป็นข้อพิพาททางปกครองให้เป็นอำานาจศาลปกครอง และยกเลิกมาตรา ๑๗ ซึ่ง

                     ยกเว้นให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายนี้ ไม่ต้องรับผิดทางอาญาและวินัย แก้ไข
                     ระเบียบกองอำานวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ว่าด้วยวิธีปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่

                     ตามมาตรา ๑๑ แห่งกฎหมายฉบับนี้  โดยในการขอขยายระยะเวลาควบคุมตัว ให้นำาผู้ถูกควบคุมตัว
                     มาแสดงต่อศาลด้วย  และให้นำาบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้ทันที

                     เมื่อบุคคลถูกจับหรือควบคุมตัวตามกฎหมายนี้ โดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลาควบคุมตัว ๓๐ วัน

                                สำาหรับ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรฯ  คณะกรรมการฯ
                     มีความเห็นว่าควรแก้ไขมาตราว่าด้วยข้อพิพาทที่เกิดจากการใช้อำานาจตามกฎหมายนี้ทำานองเดียวกับ

                     พระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ดังที่อธิบายข้างต้น และแก้ไขมาตรา ๑๖
                     โดยให้กำาหนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขว่าด้วยการเยียวยาความเสียหาย

                                เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๗  สำานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือแจ้งว่า

                     ได้มอบหมายให้กระทรวงกลาโหมพิจารณาร่วมกับหน่วยงานอื่นแล้วทำาเป็นรายงานภาพรวมประกอบ
                     การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป  รวมทั้งได้แนบความเห็นของหน่วยงานต่างๆ ซึ่งพบว่ามี
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20