Page 10 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 10

8  ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                        บทที่ ๑

                             อธิบายถึง ความเป็นมา องค์ประกอบ ภารกิจของคณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะ
                        นโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

                        และกระบวนการจัดทำารายงานเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
                        บทที่ ๒

                             เป็นผลงานข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ เพื่อ

                        ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ผ่านมาเฉพาะเรื่องที่สำาคัญ เรียงตามลำาดับของผลงาน
                        รวม ๖ เรื่อง ประกอบด้วย


                        ผลงานลำาดับที่ ๑

                        เรื่อง  ก�รตร�พระร�ชบัญญัติก�รชุมนุมส�ธ�รณะ พ.ศ. ....

                             เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยการชุมนุมสาธารณะ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในสังคม
                  ประชาธิปไตย  การชุมนุมโดยสงบและสันติเป็นเสรีภาพที่ได้รับการรับรองในกติการะหว่างประเทศ

                  ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี  และได้รับการรับรองไว้ใน

                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ผ่านมา ระหว่างที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุม
                  สาธารณะบังคับใช้โดยตรงนั้น  เจ้าหน้าที่ของรัฐนำากฎหมายอื่นมาใช้ตามลักษณะที่กระทำาความผิด
                  เป็นการเฉพาะเป็นเรื่องๆ ไป  ทำาให้การชุมนุมสาธารณะไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน ขึ้นกับ

                  ว่าเจ้าหน้าที่จะเลือกนำากฎหมายฉบับใดมาใช้ ต่อมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ

                  การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. .... ฉบับที่เสนอโดยสำานักงานตำารวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๒
                  เพื่อเสนอต่อรัฐสภาในการตรากฎหมายต่อไป  ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เห็นว่า
                  หากจะมีกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะก็ควรมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

                  ของประชาชน

                             นอกจากนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้มีความเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติ
                  ฉบับนี้ว่า โดยหลักการควรกำาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการใช้อำานาจของเจ้าหน้าที่รัฐในการควบคุมดูแล

                  การชุมนุมในที่สาธารณะ การจำากัดการชุมนุมอาจทำาได้เท่าที่จำาเป็นและได้สัดส่วน บทบัญญัติ
                  บางประการ เช่น การให้ผู้จัดการชุมนุมแจ้งล่วงหน้า  หากไม่แจ้ง หรือไม่ได้รับการผ่อนผันถือเป็น

                  การชุมนุมไม่ชอบกฎหมาย  และการให้เจ้าหน้าที่สั่งให้เลิกชุมนุม กำาหนดให้พื้นที่ชุมนุมเป็นพื้นที่
                  ควบคุมและให้ผู้อยู่ในพื้นที่ควบคุมเป็นผู้กระทำาผิดซึ่งหน้านั้น อาจขัดกับรัฐธรรมนูญ ควรกำาหนด

                  กรอบและขั้นตอนการควบคุมฝูงชน โดยการใช้กำาลังเพื่อยุติการชุมนุมต้องอยู่ภายใต้หลักสัดส่วน
                  และพอควรแก่เหตุ มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ ควรให้องค์กรปกครอง

                  ส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่จัดสถานที่ชุมนุม ควรให้เจ้าหน้าที่รัฐมีอำานาจหน้าที่ส่งเสริม คุ้มครอง อำานวย
                  ความสะดวกต่อผู้ชุมนุม มีบทลงโทษแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ละเลยการดำาเนินการดังกล่าว
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15