Page 12 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 12

10  ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                             ในเชิงการปรับปรุงกฎหมาย คณะกรรมการฯ เห็นว่า ควรจัดทำาและประกาศใช้พระราช-

                  กฤษฎีกาตามมาตรา ๙ และมาตรา ๑๐ ของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕
                  หรือแก้ไขมาตราดังกล่าว โดยให้ผู้รับบริการต้องใช้สิทธิจากระบบบริการที่ตนมีสิทธิก่อน หากสิทธินั้น

                  ด้อยกว่าหรือไม่ครอบคลุมเท่ากับสิทธิตามระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ได้รับสิทธิเท่ากับที่
                  ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำาหนด และให้สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรับผิดชอบ

                  ค่าใช้จ่ายส่วนต่าง แก้ไขประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง บุคคลที่ไม่ต้องร่วมจ่ายค่าบริการ
                  พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยให้บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร คนเร่ร่อน คนไร้ที่พักพิง คนไร้รากเหง้า

                  เป็นบุคคลที่ไม่ต้องร่วมจ่ายค่าบริการด้วย  ผลักดันร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการ
                  รับบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งฉบับหลัง

                  เพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลผู้ประกันตนด้านป้องกันโรค ให้ผู้ประกันตนที่จงใจหรือยินยอมก่อให้เกิด
                  อันตรายหรือเจ็บป่วย เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ให้แรงงานนอกระบบเป็นผู้ประกันตน

                             ต่อมา เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๖ คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบพร้อมแนบ
                  ความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ดังนี้ สำานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแจ้งความก้าวหน้า

                  ว่าอยู่ระหว่างนำาพระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับสิทธิการรับบริการสาธารณสุขของข้าราชการและพนักงาน

                  ส่วนท้องถิ่นขึ้นทูลเกล้าถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อใช้บังคับ
                  สำานักงาน ก.พ. และกระทรวงแรงงานเห็นด้วยกับการแก้ไขพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
                  มาตรา ๙ และมาตรา ๑๐ กระทรวงแรงงานเห็นด้วยกับการให้ผลักดันร่างพระราชบัญญัติคุ้มครอง

                  ผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..)

                  พ.ศ. .... อย่างไรก็ตาม สำานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ข้อสังเกตว่า
                  ควรศึกษาผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในข้อเสนอที่เกี่ยวกับการผลักดันร่างพระราชบัญญัติคุ้มครอง
                  ความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข  การกำาหนดให้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็น

                  บริการพื้นฐานด้วย รายละเอียดอยู่ในผลงานลำาดับที่ ๒



                        ผลงานลำาดับที่ ๓

                        เรื่อง  ก�รอนุวัติกฎหม�ยไทยต�มอนุสัญญ�ต่อต้�นก�รทรม�นและก�รประติบัติหรือก�รลงโทษอื่น
                                                     ่
                             ที่โหดร้�ย ไร้มนุษยธรรม หรือยำ�ยีศักดิ์ศรี และเพื่อเตรียมรองรับก�รเข้�เป็นภ�คีพิธีส�ร
                             เลือกรับของอนุสัญญ�ต่อต้�นก�รทรม�นฯ รวมทั้งอนุสัญญ�ระหว่�งประเทศว่�ด้วย
                             ก�รคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญห�ย

                             ประเทศไทยได้เป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษ

                  อื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
                  และประเทศไทยได้ลงนามและอยู่ระหว่างพิจารณาให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย

                  การคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย โดยที่พันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนตาม
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17