Page 11 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 11

9
                                                   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                   ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                     กรณีมีข้อพิพาทจากการชุมนุมไม่ควรบัญญัติให้เหตุที่เกิดขึ้นทุกลักษณะคดีอยู่ภายใต้อำานาจของ

                     ศาลใดศาลหนึ่ง โดยไม่สอดคล้องกับเขตอำานาจศาล ควรใช้บทกำาหนดโทษทางปกครองกับการชุมนุม
                     ที่ถูกห้ามเนื่องจากเป็นการขัดคำาสั่งทางปกครอง และควรมีกลไกรองรับเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อน

                     ของประชาชน ซึ่งอาจช่วยคลี่คลายความเดือดร้อนและไม่จำาเป็นต้องออกมาชุมนุม
                                อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ออกมาบังคับใช้ เนื่องจากวันที่ ๑๐ พฤษภาคม

                     ๒๕๕๔  มีประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร  ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๗ สำานักงานตำารวจแห่งชาติจึงเสนอ

                     ร่างกฎหมายนี้ขึ้นมาใหม่  ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติรายละเอียด
                     เรื่องนี้อยู่ในผลงานลำาดับที่ ๑



                           ผลงานลำาดับที่ ๒

                           เรื่อง  สิทธิในก�รรับบริก�รส�ธ�รณสุขต�มระบบหลักประกันสุขภ�พแห่งช�ติ ระบบประกันสังคม
                                และระบบสวัสดิก�รข้�ร�ชก�ร

                                การจัดบริการสาธารณสุขของไทยอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของระบบบริการ

                     สาธารณสุขอย่างน้อย ๓ ระบบ  แต่ละระบบมีกรอบแนวคิดต่างกัน กล่าวคือ ระบบหลักประกัน
                     สุขภาพแห่งชาติรับรองให้บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่เหมาะสม ได้มาตรฐาน

                     ระบบประกันสังคมเน้นการให้สังคมดูแลซึ่งกันและกัน รัฐจะดูแลประชาชน โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม
                     มีระบบการคลังที่ยั่งยืน และระบบสวัสดิการข้าราชการเป็นสวัสดิการที่รัฐให้แก่ข้าราชการ พนักงาน

                     ลูกจ้าง เป็นผลให้แต่ละระบบมีประเภทของบริการและวิธีจัดบริการสาธารณสุขไม่เหมือนกัน ทำาให้
                     ผู้รับบริการที่อยู่ภายใต้ระบบบริการสาธารณสุขต่างกัน เข้าถึงประเภทและมาตรฐานของบริการ

                     สาธารณสุขที่พึงเป็นบริการพื้นฐานไม่เท่าเทียมกัน

                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาและมีความเห็นในเรื่องนี้ว่า รัฐบาล
                     ควรทบทวนแนวคิดและวิธีจัดบริการของระบบบริการสาธารณสุขบนหลักความเสมอภาค โดยให้

                     ประเภทและมาตรฐานของบริการสาธารณสุขตามระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นบริการ
                     พื้นฐานและที่จำาเป็นที่ทุกคนพึงได้รับโดยไม่เสียค่าบริการ แยกบทบาทระหว่างผู้ให้บริการ ได้แก่

                     กระทรวงสาธารณสุข และผู้ซื้อบริการได้แก่หน่วยงานที่รับผิดชอบกองทุน/ระบบบริการสาธารณสุข
                     และให้สองฝ่ายหารือกันในการกำาหนดนโยบายการจัดบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบบริการนั้น

                     มีกลไกรับผิดชอบดูแลสวัสดิการด้านสุขภาพ ซึ่งต้องไม่ต่ำากว่าบริการขั้นพื้นฐานตามระบบหลักประกัน
                     สุขภาพแห่งชาติ รวมถึงด้านอาชีวอนามัยและด้านสภาพแวดล้อมการทำางานของข้าราชการและ

                     เจ้าหน้าที่ของรัฐ  ตลอดจนการจัดสวัสดิการด้านสุขภาพสำาหรับข้าราชการส่วนท้องถิ่น ทบทวนการ
                     จ่ายเงินแก่หน่วยบริการหรือเครือข่ายหน่วยบริการ โดยแยกค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าตอบแทนบุคลากร

                     ออกจากค่าจัดบริการด้านสุขภาพ  และให้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้รับบริการ เมื่อได้รับความ
                     เสียหายจากการรักษาพยาบาล
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16