Page 14 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2554 - 31 ธันวาคม 2557
P. 14

12   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๑  ระหว่าง ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗




                  การยกร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ พ.ศ. .... *

                  การทบทวนพระราชบัญญัติคุ้มครองพยาน พ.ศ. ๒๕๕๖  และพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย
                  และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำาเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นต้น  สำานักงานอัยการสูงสุด

                  แจ้งว่ามีความพร้อมให้พนักงานอัยการมีบทบาทสอบสวนความผิดเกี่ยวกับการทรมานหรือการบังคับ
                  ให้บุคคลสูญหาย  ส่วนสำานักงานศาลยุติธรรมเห็นว่า การอนุวัติกฎหมายภายในเรื่องนี้ควรใช้การแก้ไข

                  กฎหมายที่มีอยู่ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ฯลฯ  และกระทรวงกลาโหมชี้แจงว่าข้อเสนอแนะที่ให้
                  ทบทวนการใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง นั้น  ทหารจะใช้กฎหมายเหล่านี้ต่อเมื่อสถานการณ์

                  รุนแรงมากจนเจ้าหน้าที่ตำารวจและเจ้าหน้าที่รัฐอื่นใดไม่สามารถระงับเหตุ และได้ให้ความสำาคัญโดย
                  จัดให้มีการบรรยายเรื่องสิทธิมนุษยชนในหลักสูตรทางทหาร ตลอดจนการอบรมผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่

                  จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่แล้ว รายละเอียดของเรื่องนี้ปรากฏในผลงานลำาดับที่ ๓



                        ผลงานลำาดับที่ ๔
                        เรื่อง  ข้อเสนอแนะนโยบ�ยและข้อเสนอในก�รปรับปรุงกฎหม�ยพิเศษที่เกี่ยวข้องกับ

                             พระร�ชบัญญัติกฎอัยก�รศึก พระพุทธศักร�ช ๒๔๕๗ พระร�ชกำ�หนดก�รบริห�รร�ชก�ร

                             ในสถ�นก�รณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และพระร�ชบัญญัติก�รรักษ�คว�มมั่นคงภ�ยใน
                             ร�ชอ�ณ�จักร พ.ศ. ๒๕๕๑

                             ที่ผ่านมา เมื่อมีการแสดงความคิดเห็นหรือการแสดงออกทางการเมืองของประชาชนหรือ
                  ของกลุ่มบุคคลซึ่งส่วนใหญ่มิใช่เป็นการใช้อาวุธหรือเป็นภาวะสงคราม  แต่รัฐเห็นว่าอาจกระทบต่อ

                  ความสงบเรียบร้อยของสังคม  รัฐมักแก้ปัญหาโดยประกาศใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง ได้แก่
                  พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗  พระราชกำาหนดการบริหารราชการใน

                  สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘  และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
                  พ.ศ. ๒๕๕๑  การใช้กฎหมายข้างต้นอาจทำาให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนั้น การที่รัฐจะนำา

                  กฎหมายหรือมาตรการใดมาใช้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือความเป็นระเบียบของสังคม จึงควร
                  คำานึงถึงผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนควบคู่กับการรักษาความมั่นคง

                             คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาและมีความเห็นในเรื่องนี้ว่า ควรยกเลิก

                  การบังคับใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกฯ ในทุกพื้นที่ และประกาศใช้ใหม่เฉพาะพื้นที่ที่มีความ
                  จำาเป็น และยกเลิกทันทีเมื่อสิ้นสุดความจำาเป็น  ส่วนในพื้นที่ เช่น จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งใช้กฎหมาย

                  พิเศษด้านความมั่นคงมากกว่า ๑ ฉบับ เห็นว่า เมื่อสถานการณ์ดีขึ้นควรยกเลิกกฎหมายที่กระทบ
                  สิทธิและเสรีภาพของประชาชนมากกว่า แล้วเปลี่ยนไปใช้กฎหมายที่จำากัดสิทธิและเสรีภาพน้อยกว่า




                  *  ข้อมูลจากกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๗ ใช้ชื่อว่า ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและ
                     ปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. ....
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19