Page 15 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2556
P. 15

14       รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๖










                              ๓.  การอพยพเข้ามาในประเทศไทยของชาวโรฮิงญา


                              ชาวโรฮิงญาที่อพยพหนีภัยเข้ามาในประเทศไทยนั้น  ประเทศไทยจำาเป็นต้องให้การคุ้มครอง
                        ชาวโรฮิงญาเหล่านั้นตามหลักการสิทธิมนุษยชน โดยไม่เลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติตามอนุสัญญา
                        ระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนและตามรัฐธรรมนูญของไทย ซึ่งประเทศไทยได้ให้การคุ้มครอง

                        แก่ชาวโรฮิงญาที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยตามหลักสิทธิมนุษยชนและให้ความช่วยเหลือตาม

                        หลักมนุษยธรรม  แต่อาจมีข้อจำากัด เช่น เรื่องสถานที่กักตัวซึ่งมีอยู่จำานวนจำากัด  ทำาให้สภาพ
                        การกักตัวในห้องผู้ต้องกักมีความแออัด ไม่เหมาะสมต่อการกักตัวผู้ต้องกักเป็นเวลานาน รวมทั้ง
                        งบประมาณค่าอาหารยังชีพให้แก่ผู้ต้องกักอาจไม่เพียงพอ เป็นต้น  ดังนั้น รัฐบาลจะต้องคำานึงถึง

                        ปัญหาดังกล่าวและเร่งแก้ไขปัญหาตามหลักสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรมโดยการจัดสถานที่กักตัว

                        ให้มีความเหมาะสม
                              นอกจากนี้  รัฐบาลควรเร่งรีบดำาเนินการประสานไปยังประเทศต้นทางของชาวโรฮิงญา เช่น

                        ประเทศพม่าและบังคลาเทศ เพื่อให้ดำาเนินการพิสูจน์สัญชาติ และรับชาวโรฮิงญาเหล่านี้กลับไป  รวมทั้ง
                        ควรประสานความร่วมมือกับรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาโรฮิงญาให้เข้ามามีส่วนร่วม

                        เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาชาวโรฮิงญาในระดับภูมิภาค  นอกจากนี้ ควรประสานให้สำานักงาน
                        ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ได้เข้ามามีบทบาทในการคัดกรองชาวโรฮิงญา

                        ว่าเป็นผู้ลี้ภัยหรือไม่  โดยใช้มาตรฐานเดียวกันกับคนเชื้อชาติอื่น ๆ เพื่อแบ่งเบาภาระของประเทศไทย
                        และควรให้องค์การสหประชาชาติ (UN) และองค์กรระหว่างประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมให้

                        ความช่วยเหลือชาวโรฮิงญาอย่างเต็มรูปแบบ  และปัญหาสำาคัญอีกประการหนึ่ง คือ รัฐบาลไทย
                        ควรดำาเนินการปราบปรามขบวนการนำาพาและขบวนการค้ามนุษย์ตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด

                        ทั้งนายหน้าคนไทย คนพม่า คนบังคลาเทศ และเจ้าหน้าที่ไทยที่มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเพื่อปราบปราม
                        และหยุดยั้งปัญหาการค้าชาวโรฮิงญาที่นำาเข้ามาในประเทศไทย





                                                 ๔.  สิทธิด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตบนท้องถนน

                                                              สิทธิด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตบนท้องถนนของ
                                                                                           ่
                                                        คนไทยในปัจจุบันกล่าวได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ตำามาก ในแต่ละวัน
                                                        มีประชาชนที่ต้องเสียชีวิตบนท้องถนนประมาณ ๖๓ คน ความ
                                                        สูญเสียที่เกิดขึ้นถือเป็นการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ที่

                                                        เกี่ยวข้องที่ยังไม่สามารถจัดการให้ท้องถนนในประเทศไทย
                                                        ปลอดภัยเพียงพอเพื่อประกันความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต

                                                        และทรัพย์สินให้แก่ประชาชนได้  รวมทั้งในส่วนของประชาชน
                                                        ก็ไม่เคยเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทำาหน้าที่ในการคุ้มครอง
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20