Page 14 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2556
P. 14

13

                                      รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๖







                                ในรอบปีที่ผ่านมา  สถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง ทั้งในเหตุการณ์ปิดล้อมทำาเนียบรัฐบาล
                           และกองบัญชาการตำารวจนครบาล  ระหว่างวันที่ ๑-๓ ธันวาคม ๒๕๕๖ และการชุมนุมคัดค้านการ

                           เลือกตั้งบริเวณสนามกีฬา ไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง ในวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๖  รัฐบาลได้ดำาเนินการกับ
                           ผู้ชุมนุมโดยขาดความระมัดระวัง จนทำาให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของผู้ชุมนุม

                           และประชาชนทั่วไป อันเป็นการกระทำาที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาล
                           ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้  อีกทั้งรัฐบาลมีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญ

                           แห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายอื่นได้กำาหนดไว้  รัฐบาลจึงต้องดำาเนินการให้ความช่วยเหลือและ
                           เยียวยาตามสมควรแก่ผู้ที่ได้รับความสูญเสียจากเหตุการณ์ดังกล่าวให้ครบถ้วนและทั่วถึงอย่างแท้จริง







                           ๒.  เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคล
                                และสื่อมวลชน

                                การแสดงความความเห็นของบุคคลและการนำาเสนอข่าว

                           ของสื่อมวลชนเป็นเสรีภาพของบุคคลและสื่อมวลชนตามกฎหมายที่สามารถกระทำาได้ ถ้าไม่ละเมิดสิทธิ
                           ของผู้อื่นตามรัฐธรรมนูญ  สถานการณ์ที่สื่อมวลชนถูกคุกคามจนทำาให้สื่อมวลชนต้องเสียชีวิตและได้รับ

                           บาดเจ็บ  รัฐจึงจะต้องมีมาตรการในการปกป้องคุ้มครองการทำาหน้าที่สื่อมวลชนให้ได้รับความปลอดภัย
                           ในส่วนของสื่อมวลชนเองก็จะต้องทำาหน้าที่นำาเสนอข่าวสารและแสดงความคิดเห็น โดยยึดมั่นในกรอบ

                           จริยธรรมแห่งวิชาชีพ ไม่นำาเสนอข่าวด้วยความลำาเอียงหรือมีอคติและไม่รอบด้าน จนทำาให้เกิดความ
                           แตกแยกขัดแย้งในสังคมไทย

                                ส่วนกรณีที่รัฐมีแนวคิดที่จะตรวจสอบการใช้งานโปรแกรมไลน์  และการโพสต์ข้อความบนสื่อสังคม
                           ออนไลน์นั้น  รัฐจะต้องระมัดระวังการใช้อำานาจหน้าที่ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฯ  และกติการะหว่าง

                           ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  โดยการแสดงความคิดเห็นหรือนำาเสนอข่าว  ถึงแม้จะ
                           มีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซงของรัฐนั้น  แต่การใช้เสรีภาพจะต้องคำานึงถึง

                           ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  สิทธิและเสรีภาพของบุคคล  ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและเสรีภาพ
                           ในการสื่อสารที่ชอบด้วยกฎหมาย  ดังนั้น สื่อมวลชนจึงควรใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

                           โดยไม่เป็นการก้าวล่วงละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น  แต่หากหน่วยงานของรัฐเป็นผู้กระทำาการละเมิดสิทธิ
                           ของบุคคลอื่นเสียเอง ก็จะต้องรับผิดชอบซึ่งอาจถูกฟ้องร้องดำาเนินคดีตามกฎหมายได้  อีกทั้ง

                           ในข้อเท็จจริงแล้ว หน่วยงานของรัฐมีระบบในการสืบสวนหาข้อมูลในทางอื่นไม่ใช่เฉพาะไลน์  ดังนั้น
                           การที่หน่วยงานของรัฐจะทำาการตรวจสอบและออกกฎเกณฑ์ควบคุมการใช้ไลน์  โดยไม่ผ่านการ

                           ตรวจสอบของศาลยุติธรรมจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19