Page 11 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2556
P. 11

การจัดทำารายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย  และรายงาน

                                ผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๖  เป็นอำานาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                                (กสม.) ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๕ (๖)

                                และ (๗) ที่จะต้องจัดทำารายงานประจำาปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายใน
                                ประเทศ และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี เพื่อเสนอต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และเปิดเผย

                                ต่อสาธารณชน

                                      รายงานฉบับนี้ได้แบ่งออกเป็น ๒ ภาค ประกอบด้วย

                                      ภาคที่ ๑ : รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๖

                                      ภาคที่ ๒ : รายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๖









                                      รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๖ เป็นการ

                                ประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน  โดยจะรวบรวมข้อเท็จจริง สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
                                ในประเทศไทยที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๕๖ นำามาประเมินและวิเคราะห์ว่า รัฐได้ดำาเนินการส่งเสริม

                                และคุ้มครองสิทธิต่างๆ มากน้อยเพียงใด  และในกรณีที่เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนจะได้มี
                                การวิเคราะห์ว่า  การละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้นเกิดจากสาเหตุใด รัฐได้เข้าไปดำาเนินการแก้ไข

                                ปัญหาที่เกิดขึ้นหรือไม่อย่างไร และการดำาเนินการนั้นส่งผลให้ประชาชนได้รับการคุ้มครอง
                                สิทธิในทางปฏิบัติหรือไม่  หากการดำาเนินการของรัฐไม่เพียงพอ กสม. ในฐานะกลไกที่มี

                                หน้าที่ในการตรวจสอบการดำาเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐที่จะต้องให้ข้อเสนอแนะ
                                แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สิทธิต่างๆ

                                ที่ได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญและพันธกรณีระหว่างประเทศเกิดขึ้นจริง โดยในการประเมิน
                                และวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนจะมีกรอบในการประเมินที่สำาคัญ ๒ ประการ
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16