Page 13 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2556
P. 13

12       รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๖










                              จากการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยในปี ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา  มีสถานการณ์
                        สิทธิมนุษยชนที่สำาคัญ ดังนี้




                                สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง






                               ๑.  การใช้เสรีภาพในการชุมนุมทางการเมือง


                               รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐  และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ
                        พลเมืองและสิทธิทางการเมือง ได้วางขอบเขตและหลักการของการแทรกแซงโดยรัฐต่อการใช้เสรีภาพ

                        ของบุคคลว่า  หากการใช้เสรีภาพในการชุมนุมครั้งใด  ผู้ชุมนุมได้ใช้สิทธิและเสรีภาพของตน โดยมีผล
                        เป็นการละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น หรือเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือขัดต่อศีลธรรม

                        อันดีของประชาชน รัฐก็สามารถเข้าแทรกแซงด้วยการจำากัดการใช้เสรีภาพได้  แต่รัฐจะต้องกระทำา
                        โดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยเฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะและเพื่อคุ้มครอง

                        ความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศ
                        อยู่ในสภาวะสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก

                        การชุมนุมโดยเสรีภาพของบุคคลจึงมีขอบเขตมิได้เป็นเสรีภาพโดยบริบูรณ์  รัฐสามารถจำากัดได้โดยอาศัย
                        อำานาจตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำาหนด  ดังนั้น การใช้เสรีภาพในการชุมนุม ผู้ชุมนุม

                        จึงจำาต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ไม่กระทำาการใดที่เป็นการละเมิดต่อกฎหมาย และต้องไม่เป็นการใช้
                        เสรีภาพที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นๆ เกินสมควร  และเมื่อใดที่รัฐเห็นว่า

                        การชุมนุมเริ่มไม่เป็นไปตามกรอบหรือมีการกระทำาที่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายบ้านเมือง  รัฐก็สามารถ
                        นำากฎหมายที่มีอยู่มาบังคับใช้เพื่อควบคุมฝูงชนได้  และในกรณีที่มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดกระทำา

                        ความผิดอาญาขึ้นในระหว่างที่มีการชุมนุม  รัฐจึงมีความจำาเป็นที่จะต้องนำากฎหมายพิเศษมาใช้เพื่อ
                        ควบคุมสถานการณ์ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง  พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายใน

                        ราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้กำาหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์เพื่อให้อำานาจแก่ผู้มีอำานาจตามกฎหมาย
                        ประกาศใช้ในสถานการณ์พิเศษ ในกรณีเกิดเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

                        แต่ยังไม่มีความจำาเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน  และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มที่จะมีอยู่ต่อไป
                        เป็นเวลานาน  ดังนั้น การดำาเนินการของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการชุมนุมจากเหตุการณ์ดังกล่าว

                        ภายใต้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑  รัฐบาลต้องมีหน้าที่
                        ควบคุมการชุมนุมให้อยู่ภายใต้กฎหมาย และต้องตระหนักถึงการใช้มาตรการจัดการการชุมนุมโดย

                        จะต้องกระทำาเท่าที่จำาเป็น  คำานึงถึงความเหมาะสม  มีลำาดับขั้นตอนตามหลักสากลที่ใช้ในการสลาย
                        การชุมนุมของประชาชน  และรัฐต้องกระทำาจากเบาไปหาหนักภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18