Page 12 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2556
P. 12

11

                                      รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๖












                                ประการแรก คือ สิทธิต่างๆ ที่ได้รับการคุ้มครองทั้งตามกฎหมายภายในของประเทศไทย ซึ่งรัฐมี

                           หน้าที่ในการส่งเสริมและคุ้มครอง ได้แก่ สิทธิที่ได้รับการรับรองในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                           พุทธศักราช ๒๕๕๐  และสิทธิที่รัฐต้องให้ความคุ้มครองตามพันธกรณีระหว่างประเทศ คือ สิทธิที่

                           ปรากฏอยู่ในสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนฉบับต่างๆ ที่ไทยเป็นภาคี ปัจจุบันประเทศไทย
                           ได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนหลัก ๗ ฉบับจากทั้งหมด ๙ ฉบับ ได้แก่

                                (๑)  อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
                                (๒)  อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

                                (๓)  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

                                (๔)  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
                                (๕)  อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
                                (๖)  อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม

                                           ่
                                     หรือที่ยำายีศักดิ์ศรี
                                (๗)  อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ

                                ส่วนสนธิสัญญาอีก ๒ ฉบับที่ไทยยังไม่ได้เข้าเป็นภาคี ได้แก่ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการ

                           คุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย และอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน
                           และสมาชิกในครอบครัว  นอกจากนี้ ยังรวมถึงพิธีสารที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีแล้ว มี ๔ ฉบับ ได้แก่

                                (๑)  พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ

                                (๒)  พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ว่าด้วยการขายเด็ก โสเภณีเด็ก และสื่อลามก
                                     ที่เกี่ยวกับเด็ก
                                (๓)  พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ว่าด้วยสภาวะความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธ

                                (๔)  พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ว่าด้วยกระบวนการรับเรื่องร้องเรียน

                                นอกจากสนธิสัญญาหลักและพิธีสารดังกล่าวข้างต้นแล้ว  ยังมีอนุสัญญาที่เกี่ยวกับสิทธิแรงงาน
                           ที่จัดทำาขึ้นในกรอบองค์การแรงงานระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันอีกด้วย


                                ประการที่สอง คือ กรอบเกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                           ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ใช้กันทั่วไป คือ หน้าที่ในการเคารพสิทธิ (Obligation to respect)

                           หน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิ (Obligation to protect)  และหน้าที่ในการทำาให้สิทธิเกิดผลในทางปฏิบัติ
                           (Obligation to fulfill)
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17