Page 3 - พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560
P. 3

หน้า   ๓

              เล่ม   ๑๓๔   ตอนที่   ๑๒๓   ก         ราชกิจจานุเบกษา                  ๑๒   ธันวาคม   ๒๕๖๐


                      มาตรา  ๖  ในการปฏิบัติหน้าที่  คณะกรรมการต้องให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือ
              องค์กรอิสระทุกองค์กร  ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่ามีผู้กระทําการอันไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อยู่ใน

              หน้าที่และอํานาจขององค์กรอิสระอื่น  ให้คณะกรรมการมีหนังสือแจ้งองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องเพื่อ
              ดําเนินการตามหน้าที่และอํานาจต่อไปโดยไม่ชักช้า

                      ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่าการดําเนินการเรื่องใดที่อยู่ในหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการ
              อาจเข้าลักษณะเป็นการกระทําที่อยู่ในหน้าที่และอํานาจขององค์กรอิสระอื่นด้วย  ให้คณะกรรมการ
              ปรึกษาหารือร่วมกับองค์กรอิสระอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อกําหนดแนวทางในการดําเนินงานร่วมกันเพื่อให้

              การปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและไม่ซ้ําซ้อนกัน
                      เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามวรรคสอง  ให้ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

              มีอํานาจเชิญประธานองค์กรอิสระอื่นมาร่วมประชุมเพื่อปรึกษาหารือและกําหนดแนวทางร่วมกันได้  และ
              ให้องค์กรอิสระทุกองค์กรปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว
                      มาตรา  ๗  ให้ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติรักษาการตามพระราชบัญญัติ

              ประกอบรัฐธรรมนูญนี้

                                                        หมวด  ๑

                                            คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ



                      มาตรา  ๘  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติประกอบด้วยกรรมการจํานวนเจ็ดคน

              ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคําแนะนําของวุฒิสภา  จากผู้เป็นกลาง  ทางการเมือง  และมีความรู้
              และประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี

              ในด้านดังต่อไปนี้  อย่างน้อยด้านละหนึ่งคนแต่จะเกินด้านละสองคนมิได้
                      (๑)  มีประสบการณ์ในการทํางานด้านสิทธิมนุษยชนต่อเนื่องกัน

                      (๒)  มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการสอนหรือทํางานวิจัยเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนใน
              ระดับอุดมศึกษา

                      (๓)  มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนทั้งภายในประเทศและ
              ต่างประเทศที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ

                      (๔)  มีความรู้และประสบการณ์ด้านการบริหารงานภาครัฐที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครอง
              สิทธิมนุษยชน

                      (๕)  มีความรู้และประสบการณ์ด้านปรัชญา  วัฒนธรรม  ประเพณี  และวิถีชีวิตของไทย
              เป็นที่ประจักษ์ที่จะยังประโยชน์ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

                      ระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง  ให้นับถึงวันสมัครหรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหา
              แล้วแต่กรณี
   1   2   3   4   5   6   7   8