Page 16 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 16

ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)  15






               (2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่ (3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัย

               ของประชาชนย่อมกระทำา หรือ (4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำาเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือ

               ในการประชุม ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท” และในมาตรา 331 ซึ่งกำาหนดการกระทำาที่ไม่เป็นความผิด
               ไว้อีกกรณีหนึ่งสำาหรับการแสดงข้อความในศาล ซึ่งมาตรา 331 บัญญัติว่า “คู่ความ หรือทนายความของคู่ความ

               ซึ่งแสดงความคิดเห็นหรือข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาล เพื่อประโยชน์แก่คดีของตน ไม่มีความผิดฐาน

               หมิ่นประมาท” นอกจากนี้ในมาตรา 330 กำาหนดเหตุยกเว้นโทษของการหมิ่นประมาท ถ้าเป็นการพิสูจน์ได้ว่า
               เรื่องที่หมิ่นประมาทเป็นความจริง โดยบัญญัติว่า “ในกรณีหมิ่นประมาทถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำาความผิด พิสูจน์

               ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็น
               หมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน”

                            4.1.1 วัตถุประสงค์ของผู้ดำ�เนินคดีหมิ่นประม�ทเพื่อยับยั้งก�รมีส่วนร่วมในประเด็น

               ส�ธ�รณะ
                                  การดำาเนินคดีอาญาฐานหมิ่นประมาทไม่ว่าจะเป็นการดำาเนินคดีแพ่งหรือคดีอาญา

               ล้วนแต่ให้ประโยชน์ตามปกติที่พึงได้แบบเดียวกัน กล่าวคือ การได้รับค่าเสียหายจากการเสียชื่อเสียงเป็นตัวเงิน
               การขอแก้ไขชื่อเสียงของตนให้กลับมาเหมือนเดิม เช่น การที่ศาลสั่งให้โฆษณาคำาพิพากษาของศาล แต่หาก

               เป็นกรณีของการฟ้อง ซึ่งถือได้ว่าเป็นการดำาเนินคดีที่ไม่ได้ต้องการประโยชน์ตามปกติที่พึงได้ดังกล่าวเท่าใดนัก

               แต่เป็นเพียงการดำาเนินคดีเพื่อทำาลายแรงจูงใจของผู้ตรวจสอบกิจการสาธารณะ ประโยชน์คาดหมายที่ผู้ดำาเนินคดี
               ในกรณีของการฟ้องข่มขู่หรือคุกคามที่ต้องการน่าจะเป็นการใช้ขู่ว่าจะถูกลงโทษจำาคุกคดีอาญาฐานหมิ่นประมาท

               และการขู่ว่าจะต้องเสียค่าเสียหายเป็นจำานวนมากในคดีแพ่งมาเป็นเครื่องมือบีบบังคับให้ยุติการแสดงข้อเท็จจริง

               หรือความคิดเห็นในกิจการสาธารณะ เพื่อให้ผู้แสดงข้อเท็จจริงและความคิดเห็นยอมยุติการกระทำาและนำาไปสู่
               การถอนฟ้องหรือยอมความทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา  โดยผู้ดำาเนินคดีอาจไม่ได้คาดหวังถึงผลว่าจะมีการจำาคุกจริง
                                                    13
               หรือได้รับค่าเสียหายเมื่อคดีสิ้นสุด

                            4.1.2 ท�งเลือกของก�รดำ�เนินคดีหมิ่นประม�ท
                                  แม้สหภาพยุโรปจะมีแนวทางยกเลิกความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาท (decrimi-

               nalization of defamation) ด้วยปรัชญาที่ว่า “ที่ใดก็ตามไม่มีเสรีภาพของการแสดงออกที่แท้จริง ที่นั่นไม่มี
               ประชาธิปไตยที่แท้จริง” (where there is no real freedom of expression, there can be no real



                          13    คดีแพ่งฐานหมิ่นประมาทยุติคดีได้ด้วยการยอมความและถอนฟ้องจากศาล คดีอาญาหมิ่นประมาทก็
               เช่นเดียวกันเป็นความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดที่ยอมความได้ ดังนั้น คดีอาญาหมิ่นประมาทสามารถยุติคดีได้โดยการถอน
               คำาร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความ ซึ่งทำาให้คดียุติหรือสิทธินำาคดีอาญามาฟ้องระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
               ความอาญา มาตรา 39 (2)
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21