Page 11 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 11

10     วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน






                 กฎหม�ยต่อต้�นก�รดำ�เนินคดีเพื่อยับยั้งก�รมีส่วนร่วมในกิจก�รส�ธ�รณะ

                                          (Anti-SLAPP Law)   1



               1    บทนำ�

                     ในสังคมเสรีนิยมประชาธิปไตย การคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเป็นสิ่งสำาคัญที่ต้อง
                                                                                2
            กระทำาในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชนซึ่งได้รับการรับรองในสนธิสัญญาระหว่างประเทศ  การใช้เสรีภาพ
            ในการแสดงออกซึ่งความคิดให้ผลดีทั้งในระดับจุลภาคและในระดับมหภาค ในระดับจุลภาค (micro) ผู้แสดงออก

            ซึ่งความคิดย่อมได้รับผลประโยชน์ (benefits) หลายประการ ทั้งในเรื่องของความพึงพอใจส่วนตัว ผลประโยชน์
            จากการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในเนื้อหาของความคิดที่ได้แสดงออก ในระดับมหภาค (macro) การใช้

            เสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดในประเด็นปัญหาที่เป็นประเด็นสาธารณะ (public issues) เช่น การตรวจสอบ
            การทำาหน้าที่ของฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ หรือฝ่ายตุลาการ ย่อมสร้างผลประโยชน์ส่วนรวม (social benefit)

            เพราะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐในการตัดสินใจกระทำาการทุจริตในตำาแหน่งหน้าที่และการกระทำา

            ที่มิชอบด้วยกฎหมายอื่น ๆ รวมทั้งกรณีธุรกิจเอกชนที่กระทำาผิดกฎหมายและสร้างความเสียหายให้กับสังคม
            การติดตามตรวจสอบโดยภาคสังคมหรือภาคประชาชนย่อมสร้างประโยชน์ส่วนรวม ดังนั้น หากมีการส่งเสริม สนับสนุน

            ให้มีการใช้เสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดในประเด็นสาธารณะ พร้อมกับการคุ้มครองผู้แสดงความเห็น

            เพื่อไม่ให้ถูกโจมตีจากการใช้เสรีภาพดังกล่าว ย่อมเป็นแนวทางที่ดีที่จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อสังคม
                     ในมุมมองของผู้ถูกตรวจสอบหรือผู้ที่ถูกกระทบกระเทือนจากการใช้เสรีภาพในการแสดงออก

            ซึ่งความคิดของผู้อื่น ย่อมมีสิทธิที่จะดำาเนินคดีกับผู้ที่แสดงความคิดเห็นที่กระทบกระเทือนสิทธิของตนได้ โดยเฉพาะ

            อย่างยิ่ง การใช้สิทธิแสดงความคิดเห็นที่เป็นเรื่องขัดต่อความจริงและทำาให้ผู้อื่นเสียหาย ดังนั้นผู้เสียหายย่อม
            มีสิทธิทางแพ่งในการเรียกร้องค่าเสียหาย รวมทั้งขอให้แก้ไขให้ชื่อเสียงกลับคืนมาเหมือนเดิม และในบางประเทศ

            ก็กำาหนดให้การแสดงความเห็นที่ทำาให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังเป็นความผิดอาญาฐาน
                      3
            หมิ่นประมาท   เช่น ประเทศไทยและประเทศเยอรมนี เป็นต้น




                       1    ปรับปรุงจากบทความในโครงการวิเคราะห์และติดตามร่างกฎหมายภายใต้ความร่วมมือระหว่าง
            สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยและสถาบันพระปกเกล้า เรื่อง กฎหมายต่อต้านการดำาเนินคดีเพื่อยับยั้งการมี
            ส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ (Anti-SLAPP Law), โดย ปกป้อง ศรีสนิท, 2557. สืบค้นจาก http://thailawwatch.org/
            research-papers/antislap/
                       2     จาก ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 19 และ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ
            สิทธิทางการเมือง ข้อ 19
                       3     จาก ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 327 และ 328
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16