Page 15 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 15

14     วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน






            ต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหาย

            อย่างใด ๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย” และในมาตรา 447 ซึ่งบัญญัติว่า “บุคคลใดทำาให้เขาต้องเสียหายแก่ชื่อเสียง

            เมื่อผู้ต้องเสียหายร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นจัดการตามควรเพื่อทำาให้ชื่อเสียงของผู้นั้นกลับคืนดีแทนให้ใช้
            ค่าเสียหายหรือทั้งให้ใช้ค่าเสียหายด้วยก็ได้”

                         กฎหมายไทยได้กำาหนดให้หมิ่นประมาทเป็นความผิดอาญาตั้งแต่ประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญา

            พ.ศ. 2499 โดยกำาหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้ โดยบัญญัติเป็นความผิดหลักไว้ในมาตรา 326 ส่วนมาตรา
            327 คือความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้ตาย และมาตรา 328 คือความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา

                         “มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำาให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง
            ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำาความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำาคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับ

            ไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำาทั้งปรับ”

                         “มาตรา 327 ผู้ใดใส่ความผู้ตายต่อบุคคลที่สาม และการใส่ความนั้นน่าจะเป็นเหตุให้บิดา
            มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำาความผิดฐานหมิ่นประมาท

            ต้องระวางโทษดังบัญญัติไว้ในมาตรา 326 นั้น”
                         “มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำาโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด

            ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำาให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึก

            ภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำาโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำาการป่าวประกาศด้วย
            วิธีอื่น ผู้กระทำาต้องระวางโทษจำาคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท”

                         อย่างไรก็ดี ประมวลกฎหมายอาญาได้กำาหนดการหมิ่นประมาทที่ไม่เป็นความผิดอาญาไว้  หรือ

            กำาหนดการกระทำาที่เป็นความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาทแต่ก็ไม่ต้องรับโทษ  กล่าวคือ หากเป็นการกระทำา
                                                                    12
            โดยสุจริตก็จะเข้าข้อยกเว้นไม่เป็นความผิดหมิ่นประมาทตามมาตรา 329 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดแสดงความคิดเห็น

            หรือข้อความใดโดยสุจริต (1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม





                       12    การกระทำาที่ไม่เป็นความผิด หรือ มีอำานาจกระทำาได้ (justification) หมายถึง การกระทำาที่ไม่มีความ
            ผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่ง เป็นสิ่งที่สังคมรับรองการกระทำานั้น เช่น การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่การกระทำาที่
            ความผิดแต่กฎหมายยกเว้นโทษ (excuse) หมายถึง ผู้กระทำามีความผิดอาญา แต่กฎหมายยกเว้นโทษทางอาญาให้ เป็นสิ่ง
            ที่สังคมไม่รับรองการกระทำานั้น แต่สังคมเห็นว่าไม่ควรลงโทษผู้กระทำาแบบอาชญากร ดังนั้น แม้ไม่อาจลงโทษทางอาญา
            กับผู้กระทำาได้ แต่ผู้กระทำาอาจต้องชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่ง เช่น การกระทำาโดยคนวิกลจริต เป็นต้น. จาก อิทธิพลของ
            สำานักความคิดทางกฎหมายที่มีต่อกฎหมายอาญาไทย ใน หนังสือประกอบงานวิชาการรำาลึก ศาสตราจารย์ จิตติ ติงศภัทิย์
            ครั้งที่ 17 วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม 2555 ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, โดย ปกป้อง ศรีสนิท, 2555,
            กรุงเทพฯ: มหาวิทยาศาสตร์ธรรมศาสตร์.
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20