Page 9 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 9

IV  รายงานการศึกษาวิจัย
                การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี



              พุทธศักราช 2550 ปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชน และในคําประกาศเจตจํานงเกี่ยวกับ HIV/AIDS (Declaration
              of Commitment on HIV/AIDS) ซึ่งกําหนดวา

                     “สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานสําหรับทุกคนเปนสิ่งจําเปนในการลดภาวะเสี่ยงตอเอชไอวี/เอดส
              และเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบ เพื่อเปนหลักประกันวาผูติดเชื้อและผูที่มีภาวะเสี่ยงทุกคนตองไดรับ

              ความเคารพในสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ในอันที่จะเขาถึงการศึกษา การจางงาน บริการดานสุขภาพ
              และสังคม การปองกันโรค การชวยเหลือและการรักษาขอมูลขาวสาร และการปกปองคุมครองตามกฎหมาย

              โดยความเคารพตอความเปนสวนตัวและความลับสวนบุคคล ตลอดจนเพื่อขจัดความรูสึกอับอายและการแยกตัว
              ออกจากสังคมของผูติดเชื้อเอชไอวี”

                     ดวยเหตุดังกลาว สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ จึงเห็นชอบใหสถาบันวิจัยสังคม
              จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เปนที่ปรึกษาโครงการศึกษาวิจัย เรื่อง “การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อ

              เอชไอวี” เพื่อใหมีการศึกษาวิจัยสาเหตุและสภาพปญหาการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพ ใหไดรับการ
              ปกปองคุมครองสิทธิตามกฎหมายและตามหลักการสิทธิมนุษยชนอยางเปนรูปธรรม รวมทั้งจัดทําขอเสนอแนะ

              เชิงนโยบาย และ/หรือขอเสนอในการปรับปรุงกฎหมายตอหนวยงานที่รับผิดชอบตอไป



                     1.1  วัตถุประสงค

                          1.1.1 เพื่อศึกษาสภาพปญหาการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี

                          1.1.2 เพื่อศึกษาวิเคราะห ระเบียบ ประกาศ นโยบายของรัฐ มาตรการทางกฎหมาย แนวทางการ
              ปฏิบัติ และการดําเนินงานของหนวยงานที่เกี่ยวของกับการคุมครองสิทธิในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี

                          1.1.3 เพื่อเสนอรูปแบบการคุมครองสิทธิมนุษยชนของผูติดเชื้อเอชไอวีในการประกอบอาชีพ และ
              เสนอแนะแนวทางและมาตรการที่เหมาะสมในการคุมครองสิทธิในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี

              ที่ประสบปญหาการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพ และสรุปเปนขอเสนอแนะเชิงนโยบายและ/หรือขอเสนอ
              ในการปรับปรุงกฎหมายตอหนวยงานที่มีหนาที่รับผิดชอบ



                     1.2  กรอบแนวคิดที่ใชในการวิจัย

                          1.2.1  การตีตราและการเลือกปฏิบัติ (Stigma and Discrimination)

                                 แนวคิดเรื่องการตีตราและการเลือกปฏิบัติมีความเชื่อมโยงตอกัน โดยเฉพาะการตีตราผูติดเชื้อ
              เอชไอวี เมื่อพวกเขาถูกตีตราจากสังคมหนึ่ง ๆ ก็ทําใหถูกเลือกปฏิบัติหรือถูกกีดกันจากสังคม และอาจถูกละเมิด

              สิทธิมนุษยชนดวย โดยในหลายประเทศ มีการรายงานถึงกรณีที่ผูติดเชื้อถูกปฏิเสธสิทธิในการรักษาพยาบาล
              การทํางาน การศึกษารวมถึงเสรีภาพในการเคลื่อนไหวดวย 1

                                 การตีตรา หมายถึง “ภาวะที่บุคคลหรือกลุมชนในสังคมหนึ่งกําหนดวา อะไรคือความแตกตาง
              ของบุคคล ลักษณะของบุคคลที่พึงประสงค หรือไมพึงประสงคควรเปนอยางไร ลักษณะใดที่มีความแตกตางไปจาก





              1  UNAIDS.HIV/AIDS-related Stigma, Discrimination and Human Right Violation: Cases Studies of Successful Programme, 2005 [online]
                available at http://data.unaids.org/publications/irc-pub06/jc999-humrightsviol_en.pdf
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14