Page 8 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 8

รายงานการศึกษาวิจัย  III
                                                          การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี





                      บทสรุปสําหรับผูบริหาร










               1. บทนํา
                      เมื่อป พ.ศ. 2527 ประเทศไทยไดตรวจพบผูปวยเอดสรายแรก หลังจากนั้นจํานวนผูปวยเอดสและผูติดเชื้อ

               เอชไอวีก็ปรากฏตอสังคมเพิ่มมากยิ่งขึ้นจนถึงปจจุบัน ซึ่งจากขอมูลสํานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวง
               สาธารณสุข ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 รายงานวา ประเทศไทยมีจํานวนผูปวยเอดสและผูติดเชื้อเอชไอวี ตั้งแต

               พ.ศ. 2527 ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 เปนจํานวนทั้งสิ้น 376,690 ราย และเสียชีวิต 98,721 ราย โดยกลุมอายุ
               ของผูปวยและผูติดเชื้อที่พบมากที่สุดเปนกลุมคนวัยทํางานที่มีอายุ 30 - 34 ป รอยละ 24.97  รองลงมาอายุ

               25 - 29 ป และ 35-39 ป รอยละ 21.73 และ 18.19 ตามลําดับ โดยสวนใหญประกอบอาชีพรับจางทั่วไป
               รอยละ 45.48 รองลงมาเปนเกษตรกร และผูวางงาน รอยละ 19.49 และ 6.06 ตามลําดับ ซึ่งจากสถิติดังกลาว

               พบวา ผูติดเชื้อเอชไอวีสวนใหญมีอายุระหวาง 20 – 44 ป และเปนวัยแรงงานที่สําคัญของประเทศ
                      สถานการณการแพรระบาดของเชื้อเอชไอวีในระยะแรก สังคมมีความตระหนก หวาดกลัว เนื่องจากคน

               ในสังคมยังขาดความรู ความเขาใจ และขอเท็จจริงเกี่ยวกับโรคที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี ดังนั้น ภาครัฐ ภาคเอกชนและ
               ภาคประชาสังคม จึงมีความพยายามรณรงคเพื่อประชาสัมพันธเผยแพรใหประชาชนทั่วไปมีความรูความเขาใจ

               เกี่ยวกับเอดสอยางแพรหลาย โดยเนนกลุมที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง เชน ผูซื้อบริการทางเพศ กลุมชายรักชาย และ
               กลุมผูติดยาเสพติดซึ่งใชเข็มฉีดยารวมกัน

                      นอกจากนี้ ประชาชนทั่วไปยังมีทัศนคติในเชิงลบตอผูติดเชื้อเอชไอวี โดยมองวาผูติดเชื้อเอชไอวีเปนผูมี
               พฤติกรรมทางเพศไมเหมาะสมหรือเปนผูติดยาเสพติด จนทําใหภาพลักษณของผูติดเชื้อ คือ คนเลว คนไมดี และ

               เปนที่นารังเกียจของสังคม ทําใหการใชชีวิตประจําวันของผูติดเชื้อเอชไอวีเปนไปอยางยากลําบาก ทั้งในเรื่อง
               สุขภาพกาย สุขภาพจิต สภาวะความเปนอยู หนาที่การงาน สถานภาพทางสังคม ถูกรังเกียจ เหยียดหยาม

               ถูกแบงแยกออกจากคนในสังคม เพราะหากทราบวาผูใดติดเชื้อเอชไอวี ก็มักจะแสดงทาทีรังเกียจ ไมยอมรับ หรือ
               ถูกบีบบังคับออกจากงาน มีผลทําใหผูติดเชื้อไมกลาเปดเผยตนเองตอสังคม ไมกลาไปพบแพทยเพื่อรักษาตัว และ

               ไมกลาขอคําปรึกษาแนะนําจากผูเชี่ยวชาญ เพราะเกรงวาจะถูกครอบครัว เพื่อนบาน เพื่อนรวมงาน นายจาง
               และผูเกี่ยวของรังเกียจ รวมทั้งอาจมีผลกระทบตอผูใกลชิด เชน คูสมรสและบุตร เปนตน

                      ปญหาดังกลาว ลวนแตเปนปญหาที่สงผลกระทบตอวิถีชีวิต ความเปนอยู คุณภาพชีวิต และศักดิ์ศรีความ
               เปนมนุษยของผูติดเชื้อและผูใกลชิด ทั้งนี้ สาเหตุสําคัญมาจากการที่สังคม เจาหนาที่ และบุคลากรที่เกี่ยวของขาด

               ความรู ความเขาใจที่ถูกตองในเรื่องเอชไอวีหรือเอดส ตลอดจนขาดความตระหนักในเรื่องสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรี
               ความเปนมนุษยอยางเสมอภาคและเทาเทียมในประชากรทุกกลุม ตามที่บัญญัติไวในรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13