Page 10 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 10

รายงานการศึกษาวิจัย  V
                                                          การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี



               ที่คนสวนใหญประสงคจะถือวามีความเบี่ยงเบน สงผลใหบุคคลสูญเสียชื่อเสียง ไมนาไววางใจ หรือเกิดความอับอาย
               ตลอดจนทําใหบุคคลนั้นรูสึกวาคุณคาตัวตนลดลงในสายตาของสังคม บุคคลที่ไดรับตราบาปหรือถูกตีตราบาปจะ

               เกิดความรูสึกวา ตนมีความแตกตางจากผูอื่นอยางที่ไมพึงประสงค (Undesirable difference) ทั้งนี้ คุณลักษณะที่
               จะถูกตีตราบาปดังกลาวขึ้นอยูกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่คนจํานวนมากในสังคมนั้น ๆ มีอํานาจเปน

               ผูกําหนดขึ้น ซึ่งความหมายของตราบาปเนนไปที่มุมมองของสังคมที่อางอิงจากบรรทัดฐานทางสังคมหลอหลอม
               รวมกันเปนความรูสึกที่แยกแยะความตาง (difference) หรือ ความเบี่ยงเบน (deviance) สงผลใหบุคคลเกิด

               การตอตานจากสังคม โดยผูที่ถูกตีตราบาปจะถูกมองจากคนในสังคมวาเปนผูที่มี “ลักษณะเดนที่ทําใหเกิดการ
               เสื่อมเสีย” (Spoiled Identity) 2

                                  บุคคลมีแนวโนมที่จะถูกสังคมตีตรา มีลักษณะ 3 ประการ ไดแก (1) มีความผิดปกติทาง
               กายภาพ เชน รางกายพิการหรือดอยความสามารถ (2) มีความเบี่ยงเบนทางดานวัฒนธรรมหรือกฎเกณฑมาตรฐาน

               ของสังคม เชน คนที่มีความผิดปกติทางจิต คนติดยา หรือผูมีพฤติกรรมรักรวมเพศ และ (3) มีความแตกตาง
               ทางเผาพันธุ เชื้อชาติ ชนชั้น ศาสนา เชน ชนกลุมนอย

                                  การตีตราเปนการใหความหมายทางสังคมที่สงผลตอการรับรูของบุคคลในทางลบ การรับรูนี้
               อาจเปนสิ่งที่สัมผัสไดหรืออาจจะสัมผัสไมได บุคคลที่มีลักษณะพึงประสงคจะรูสึกอยูเหนือกวา (Superior)

               สวนบุคคลที่มีลักษณะไมพึงประสงคจะรูสึกตํ่าตอย (Inferior) กระบวนการตีตราบาปจึงเปนผลจากการเปรียบ
               เทียบทางสังคม ทําใหเกิดการแบงแยกและการลดคุณคา การตีตราจึงเปนตนทางของปญหาการเลือกปฏิบัติที่ตามมา

                           1.2.2  สาเหตุของการเลือกปฏิบัติและการตีตราตอผูติดเชื้อเอชไอวี
                                  Richard Parker et.al. ชี้ใหเห็นวา สาเหตุสําคัญของการตีตราและการเลือกปฏิบัติของผูติดเชื้อ

               เอชไอวี นอกจากจะมาจากการถูกจัดประเภทวาไมปกติ ทั้งในแงของพฤติกรรมทางเพศที่ผิดไปจากคนทั่วไป
               เชื้อชาติ (เชน มายาคติทางเชื้อชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศของคนผิวดํา) และชนชั้น (คนจนมีความเสี่ยงในการ

               ติดเชื้อมากกวาคนรวย) แลว ยังมาจากความหวาดกลัวการติดเชื้อและอาการของโรคดวย สาเหตุของการตีตราและ
               เลือกปฏิบัติเหลานี้ มักมีความเชื่อมโยงและสงอิทธิพลซึ่งกันและกัน และยิ่งทําใหปญหาการตีตราและเลือกปฏิบัติ

               หยั่งรากลงไปมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเขาเรียกวงจรนี้วา เปนวงจรอุบาทวของการตีตราและเลือกปฏิบัติตอผูติดเชื้อ (the
               vicious circle of stigma and discrimination) ซึ่งเกิดขึ้นสืบเนื่องกัน ดังนี้

                                  ขั้นแรก เนื่องจากการติดเชื้อเอชไอวีมักเกี่ยวของกับกลุมหรือผูที่มีพฤติกรรมที่ผิดไปจาก
               คนสวนใหญในสังคม บุคคลที่ติดเชื้อมักจะถูกตั้งขอสันนิษฐานวา เปนคนชายขอบของสังคมและอาจจะถูกตีตรา

               ในสิ่งที่พวกเขาไมเคยเปน เชน บางครั้งผูชายอาจจะเกรงวา การเปดเผยวาตนติดเชื้อเอชไอวีจะทําใหถูกมองวา
               ตนเองเปนกลุมรักรวมเพศ หรือผูหญิงก็อาจจะไมอยากเปดเผยเพราะเกรงจะถูกมองวาเปนผูหญิงสําสอน เปนกลุม

               คาบริการ
                                  ขั้นที่สอง การตีตราและการเลือกปฏิบัติเปนการซํ้าเติมอาการของผูติดเชื้อมีความเสี่ยง

               มากกวาเดิม ทําใหพวกเขายิ่งถูกตีตราและกีดกันมากยิ่งขึ้น






               2  Erving Goffman. Stigma : Note on the Management of Spoiled Identity. Harmondsworth: Penguins Book, 1963 อางถึงใน นิฮาฟซา หะยีวา
                 เงาะ, ทัศนคติเกี่ยวกับโรคเอดสและการตีตราทางสังคม :กรณีศึกษาชุมชนมุสลิมในจังหวัดปตตานี, วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต สาขาพัฒนามนุษย
                 และสังคม (สหสาขาวิชา) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2555, หนา 18-19.
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15