Page 7 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 7

(๖)






                         ส่วนกรณีศึกษาจังหวัดสงขลา เสนอแนะให้มีการศึกษาผลกระทบของโครงการที่ได้สร้างเสร็จ
                  และเปิดดําเนินการแล้วอย่างเป็นระบบครอบคลุมทุกมิติ และศึกษาเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ในแผนพัฒนา

                  ภาคใต้ ที่เป็นการจงใจออกแบบเพื่อให้ได้ประโยชน์แก่กลุ่มคนบางส่วน  รวมถึงจัดทําประเด็นร่วมเรื่อง

                  อาหาร  ที่ดิน ประมง และหยุดอุตสาหกรรม  และมีส่วนร่วมในการจัดทําและกําหนดทิศทางการพัฒนา
                  และแผนพัฒนาของชุมชนตนเองจังหวัดสงขลา และ


                         กรณีศึกษาจังหวัดสตูล เสนอแนะให้รัฐทบทวนแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้และโครงการ
                  ขนาดใหญ่ที่กําลังจะเกิดขึ้นในจังหวัดสตูล และสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่จังหวัดสตูลบนฐานต้นทุนทาง

                  สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและศักยภาพของพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างแท้จริง

                  ต้องจัดให้มีการสํารวจ และศึกษาพื้นที่คุ้มครองเฉพาะ เพื่อประกาศให้เป็นเขตอนุรักษ์ทรัพยากรทาง
                  ทะเลและชายฝั่งในระดับภูมินิเวศ ส่งเสริมให้มีการการจัดตั้งเครือข่ายองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้าน และ

                  สนับสนุนกลุ่มเหล่านั้นให้ดูแล รักษา และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สนับสนุนการท่องเที่ยว

                  โดยชุมชน และส่งเสริมการศึกษาทางเลือก

                         ส่วนข้อเสนอแนะของผู้วิจัยต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในเชิงนโยบายควรผลักดัน

                  ให้มีการทบทวนแผนพัฒนาภาคใต้ โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพิจารณากําหนดอย่างแท้จริงและควร
                  ผลักดันให้เกิดการปฏิรูประบบในการจัดทํารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และรายงาน

                  การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (EHIA) ควรรีบเร่งผลักดันพระราชบัญญัติสิทธิชุมชน

                  และควรผลักดันให้มีการปรับปรุงกฎหมายและกฎกระทรวง และระเบียบของหน่วยงานต่าง ๆ ที่
                  เกี่ยวข้องกับการจัดทํายุทธศาสตร์และแผนพัฒนา การพัฒนาสาธารณูปโภค การจัดตั้งพื้นที่

                  อุตสาหกรรม และอื่น ๆ ให้อนุวัตรและสอดคล้องกับหลักการสิทธิชุมชนและสิทธิมนุษยชน ตาม

                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ตามบทบัญญัติของมาตรา ๖๗ วรรค ๒

                         สําหรับข้อเสนอแนะต่อการดําเนินการเชิงรุก ควรผลักดันให้เกิดการปรับปรุงระบบ

                  กระบวนการ และกลไก ในการจัดทํารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้อนุวัตรตาม
                  บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ โดยการจัดเวทีให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องสิทธิชุมชนและระบบการ

                  จัดทํารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประสานเครือข่ายนักวิชาการเพื่อปฏิรูประบบการ

                  จัดทํารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และทําให้เรื่องสิทธิชุมชนมีการสื่อสารต่อสาธารณะใน
                  วงกว้าง รวมถึงการใช้กระบวนการยุติธรรม โดยการฟ้องร้องในกรณีที่เกี่ยวข้องกับการจัดทํารายงานการ

                  ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อคณะกรรมการผู้ชํานาญการหรือหน่วยงานรัฐ ให้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ

                  ของรัฐธรรมนูญควรส่งเสริมและขยายรูปแบบการประสานการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานรัฐในการจัดทํา
                  ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาจังหวัดโดยประชาชนมีส่วนร่วม และผลักดันให้เกิดการประกาศพื้นที่
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12