Page 2 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 2

บทสรุปสําหรับผู้บริหาร




                         แนวนโยบายและการบริหารแผนพัฒนาในระดับประเทศที่ผ่านมาและในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ยัง

                  ถูกกําหนดมาจากหน่วยงานของรัฐและเอกชนในส่วนกลาง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕  รัฐได้กําหนดให้มี

                  การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีภายใต้แผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก จนถึงแผนพัฒนา
                  อุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่สามในปัจจุบัน ซึ่งมีส่วนขยายการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีลงสู่พื้นที่

                  ภาคใต้ ภายใต้โครงการแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ โดยขณะนี้อยู่ในระยะเริ่มแรกของโครงการที่เป็น

                  การเตรียมความพร้อมและก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคและระบบโลจิสติกส์เพื่อที่จะรองรับการพัฒนา
                  อุตสาหกรรมในอนาคต โครงการภายใต้กรอบคิดการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ชายฝั่งทะเลดังกล่าว

                  ข้างต้น ได้ก่อให้เกิดการคุกคามต่อสิทธิชุมชนอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้จะเห็นได้จากสถิติจํานวนมากของ

                  กรณีเรื่องร้องเรียนของคณะอนุกรรมการสิทธิชุมชนในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  โดยกรณี
                  ร้องเรียนส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่เป้าหมายของการพัฒนาอุตสาหกรรมในภาคใต้ ได้แก่ จังหวัด

                  ประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล จึงมีความจําเป็นที่จะต้อง

                  ดําเนินการศึกษาวิจัยผลกระทบต่อสิทธิชุมชนที่เกิดขึ้นจากการดําเนินโครงการภายใต้แผนพัฒนาชายฝั่ง
                  ทะเลภาคใต้ดังกล่าว เพื่อศึกษานโยบายและการบริหารจัดการโครงการพัฒนาภาคใต้ และผลกระทบต่อ

                  สิทธิชุมชน รวมทั้งจัดทําข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการบริหารจัดการโครงการพัฒนาภาคใต้ เพื่อให้เกิด

                  การคุ้มครองสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ โดยใช้กลุ่มเป้าหมาย
                  ในการศึกษาวิจัยจากกรณีการร้องเรียนของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากแผนพัฒนาภาคใต้ในพื้นที่ ๔

                  จังหวัด ต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                         วิธีการศึกษาของโครงการเป็นการผสมผสานระเบียบวิธีวิจัยทั้งวิธีการศึกษาจากเอกสาร

                  (Documentary search) และวิธีการเชิงคุณภาพ (Quantitative analysis) ในการประเมินสถานการณ์

                  การคุกคามสิทธิชุมชน และจัดทําข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อทิศทางการพัฒนาภาคใต้ โดยรวบรวม
                  เอกสารที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาภาคใต้จากหน่วยงานในระดับประเทศและระดับจังหวัด การศึกษา

                  ข้อมูลเบื้องต้นจากเอกสารกรณีการร้องเรียน รายงานการประชุมและรายงานผลการตรวจสอบในกรณี

                  ร้องเรียนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ได้มีการจัดการสนทนากลุ่ม (Focus group) จังหวัดละ ๑ ครั้ง รวม ๔  ครั้ง
                  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานการณ์สิทธิชุมชนกับผลกระทบจากโครงการพัฒนาภาคใต้ในแต่ละ

                  จังหวัด หลังจากนั้นก็จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการของผู้ร้องเรียนในแต่ละจังหวัด รวม ๔  ครั้ง โดยเป็น

                  การร่วมกันระดมความคิดเห็น เพื่อจัดทําร่างข้อเสนอต่อแผนพัฒนาภาคใต้ในแต่ละจังหวัด แล้วจึงจัด
   1   2   3   4   5   6   7