Page 5 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 5

(๔)






                  ชีวิตของท้องถิ่นถูกกําหนดมาจากองค์กรภายนอกทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ สิทธิในมาตรฐาน
                  การครองชีพ จากการประกอบอาชีพที่อิงอาศัยกับความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของ

                  ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งบทเรียนผลกระทบจากพื้นที่อื่น ๆ ทําให้ชาวบ้านกังวลว่าโครงการต่าง ๆ

                  ภายใต้แผนพัฒนาภาคใต้ จะเข้ามาทําลายถิ่นอาศัยและแหล่งทํามาหากินประกอบอาชีพของตนเอง
                  นอกจากนี้โครงการพัฒนาภาคใต้เป็นชุดแผนงานโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งได้มีการวางแผนกําหนดไว้

                  เรียบร้อยแล้ว และเจ้าของโครงการก็รู้ดีว่ามีผลกระทบ แต่ไม่ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูล และไม่ยอมเปิดเผย

                  รายละเอียดการดําเนินโครงการต่อสาธารณะ อันส่งผลต่อสิทธิในข้อมูลข่าวสารซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐาน
                  สําคัญที่จะส่งผลกระทบต่อสิทธิในด้านอื่น ๆ อีกทั้งพื้นที่ดําเนินโครงการมักจะทับซ้อนกับพื้นที่ฐาน

                  ทรัพยากรของชุมชน การเข้ามาของโครงจึงส่งผลกระทบต่อสิทธิชุมชนในการใช้ประโยชน์จาก

                  ทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นที่ผ่านมาก็ละเลยสิทธิของชุมชนใน
                  การมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น


                         กระบวนการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ทั้งการลงพื้นที่
                  ตรวจสอบข้อเท็จจริง การประชุมหรือการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากชุมชน ตลอดจนการเชิญ

                  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมตรวจสอบเรื่องร้องเรียน ทําให้ชุมชนได้เรียนรู้เข้าใจและตระหนักถึง

                  สิทธิชุมชนและสิทธิมนุษยชนของตนเองมากขึ้น และส่งผลให้ชุมชนมีการใช้สิทธิของชุมชนภายใต้
                  รัฐธรรมนูญมากขึ้น ตั้งแต่การปกป้องสิทธิของตนเอง การเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐดําเนินการกับผู้ที่มา

                  ละเมิดสิทธิของชุมชน ตลอดจนถึงการฟ้องร้องหน่วยงานรัฐในบางกรณี เช่น กรณีร้องเรียนประชาชน

                  ได้รับผลกระทบจากการทําเหมืองหินเขาคูหา  และกรณีร้องเรียนการวางท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย รวมถึง
                  การให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นกลไกหนุนเสริมกระบวนการประสานความร่วมมือกับ

                  หน่วยงานรัฐ เช่น การจัดทําแผนพัฒนาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่มีส่วนร่วมของภาคประชาชน โดย

                  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นผู้ประสานหน่วยงานรัฐทั้งระดับจังหวัดและส่วนกลาง

                         นอกจากนี้ การจัดทําเวทีของโครงการวิจัยทั้งการสนทนากลุ่ม เวทีระดับจังหวัด และเวทีรวม

                  ของกรณีศึกษา ๔ จังหวัด ได้มีส่วนในการช่วยหนุนเสริมและประสานชุมชนที่ได้รับผลกระทบจาก
                  โครงการพัฒนาภาคใต้ให้มาประสานแลกเปลี่ยนกัน เช่น ชุมชนจากกรณีโครงการเขื่อนและอ่างเก็บน้ํา

                  ต่าง ๆ ได้มาเจอกับชุมชนประมงชายฝั่งจากกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหิน ท่าเทียบเรือและนิคมอุตสาหกรรมใน

                  จังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการที่ได้ดําเนินการไปแล้วในจังหวัดสงขลา
                  ได้มาแลกเปลี่ยนทุกข์และผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่เกิดขึ้นแล้ว รวมถึงชุมชนที่ได้รับผลกระทบใน

                  สี่จังหวัดก็ได้มีเวทีแลกเปลี่ยนร่วมกันเป็นครั้งแรก ทําให้เกิดการประสานความร่วมมือกันเพื่อที่จะ

                  ผลักดันการพัฒนาภาคใต้ให้เป็นไปในทิศทางการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนฐานทรัพยากรธรรมชาติและเศรษฐกิจ
                  ชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนการพัฒนาที่คุ้มครองสิทธิชุมชน
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10