Page 3 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 3

(๒)






                  เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการรวมของกรณีศึกษาทั้ง   ๔ จังหวัดอีก ๑ ครั้ง เพื่อนําผลการประชุมเชิง
                  ปฏิบัติการในระดับจังหวัด มาร่วมกันสังเคราะห์ข้อมูลระดับภาค และจัดทําร่างข้อเสนอรวมต่อโครงการ

                  พัฒนาภาคใต้

                           การพัฒนาที่ผ่านมาเป็นการกระทําของรัฐที่ใช้อํานาจเข้ามาจัดการทรัพยากรของชุมชน โดย

                  ถือว่าชุมชนไม่มีตัวตนและสิทธิทางกฎหมาย และ ละเมิดสิทธิของชุมชนที่เคยมีอยู่เหนือทรัพยากรของ

                  ชุมชน ทําให้ชุมชนท้องถิ่นต่าง ๆ ได้ลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิของตนเองและสิทธิของชุมชน จนในที่สุด
                  นําไปสู่การมีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และ พุทธศักราช

                  ๒๕๕๐ ที่ได้มีการยอมรับสิทธิของชุมชน ซึ่งเป็นสิทธิโดยธรรมชาติหรือสิทธิขั้นพื้นฐานของชุมชน รวมทั้ง

                  เป็นอํานาจอันชอบธรรมที่ชุมชนพึงมีพึงได้อย่างถูกต้องชอบธรรม ซึ่งผู้อื่นต้องยอมรับและจะละเมิดหรือ
                  ลิดรอนมิได้ และยังหมายรวมถึงการให้ชุมชนชาวบ้านมีสิทธิในการเลือกอนาคตของตัวเอง เป็นตัวของ

                  ตัวเอง และเป็นอิสระโดยตัวเอง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้มีการยอมรับ

                  สิทธิชุมชนเหนือทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในชุมชนนั้นมากกว่าสิทธิของรัฐและสิทธิของเอกชนที่มีมาแต่
                  เดิม รวมทั้งทําให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิชุมชนได้โดยไม่ต้องรอให้มีการออกกฎหมายต่าง ๆ เสียก่อน

                  นอกจากนี้ยังมีการคุ้มครองสิทธิชุมชนโดยบัญญัติให้โครงการที่อาจก่อผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง

                  จะต้องมีการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ รวมทั้งจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของ
                  ชุมชนและประชาชน ก่อนที่จะมีการดําเนินโครงการและรับรองสิทธิของชุมชนในการฟ้องร้องหน่วยงาน

                  รัฐให้ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ดังรายละเอียดตามบทบัญญัติในส่วนที่ ๑๒ ว่าด้วยสิทธิชุมชน ตามมาตรา

                  ๖๖ และ มาตรา ๖๗
                           จากผลการศึกษาผลกระทบของโครงการพัฒนาภาคใต้ต่อสิทธิชุมชนเป็นชุดแผนงาน และ

                  โครงการขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบกว้างขวางหลากหลายมิติ อันมีส่วนสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับสิทธิ

                  มนุษยชนในมิติต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวเนื่องอย่างชัดเจนกับการพัฒนา อันประกอบไปด้วยสิทธิในการ
                  กําหนดอนาคตและเจตจํานงของตนเอง สิทธิในการพัฒนา สิทธิในมาตรฐานการครองชีพ สิทธิเสรีภาพ

                  ในการแสดงความคิดเห็นการแสดงออก และการรับหรือเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงสิทธิในการชุมนุม

                  โดยสงบ ซึ่งได้มีการบัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้แก่
                  บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิในการกําหนดอนาคตและเจตจํานงของตนเอง และสิทธิในการพัฒนา ซึ่งไม่มี

                  บทบัญญัติโดยตรงสิทธิเหล่านี้ได้รับการรับรองผนวกไว้กับสิทธิด้านอื่น ๆ ในมาตรา มาตรา ๒๖ ไว้ว่าการ

                  ใช้อํานาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร  ต้องคํานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  สิทธิและเสรีภาพ  และ
                  มาตรา ๕๗ ที่ให้รัฐต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดําเนินการ

                  วางแผนพัฒนาสังคม  เศรษฐกิจ  การเมืองและวัฒนธรรม  มาตรา  ๗๘ ที่รัฐต้องการกระจายอํานาจให้

                  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้องค์กรปกครอง
   1   2   3   4   5   6   7   8