Page 11 - รายงานฉบับสมบูรณ์ (ฉบับย่อ) โครงการแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย : กรณีแรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก
P. 11

รายงานฉบับสมบูรณ์ (ฉบับย่อ)

                        แนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย:

                                       กรณีแรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก

                                                                                                         1
                                                              ดร. วิโรจน์ ณ ระนอง  และ  วุฒิพงษ์ ตุ้นยุทธ์
                                                                         สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

                                                                                             กันยายน 2562
               ส่วนที่ 1 ปัญหาและขั้นตอนการศึกษา

               โจทย์หลัก: เกิดอะไรขึ้นกับแรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก? ขั้นตอนและประโยชน์ของงานวิจัย

                   1.  ปัญหาและข้อพิจารณา

                       ที่มาและความสำคัญ: ภาพรวมปัญหาที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมสัตว์ปีกไทย

                              การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อประมวลความรู้ และนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในด้านการ
                                                 2
               คุ้มครองสิทธิมนุษยชนแรงงานข้ามชาติ ในอุตสาหกรรมสัตว์ปีกของไทย  ทั้งนี้ มีการศึกษาในอดีตที่ระบุว่า
               อุตสาหกรรมสัตว์ปีกของไทยมีการละเมิดสิทธิแรงงานฯ ในหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นการ

               ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงนานาชาติเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิฯ ที่ไทยได้เคยให้สัตยาบันไว้  การละเมิดสิทธิ
               แรงงานอาจนำไปสู่ปัญหาการถูกกีดกันทางการค้า ซึ่งจะส่งผลเสียหายอย่างมากต่ออุตสาหกรรมสัตว์ปีกของ

               ไทย รวมทั้งทุกฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมนี้

                              อุตสาหกรรมสัตว์ปีกเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้จำนวนมากให้กับประเทศ
                โดยในปี 2560 ประเทศไทยมีรายได้จากการส่งออกอาหารประเภทสัตว์ปีกสูงถึง 3,113 ล้านดอลลาร์ สรอ.

                                           3
               หรือประมาณ 105,637 ล้านบาท  คิดเป็นร้อยละ 19.7 ของมูลค่าการส่งออกอาหารของไทย โดยเป็นรายได้
               จากการส่งออกในรูปของสดและแช่แข็งร้อยละ 19.6 ที่เหลืออีกร้อยละ 80.4 เป็นการส่งออกในรูปของอาหาร



               1  ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายสาธารณสุขและการเกษตร และนักวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

                 โครงการนี้มี น.สพ. กิตติ ทรัพย์ชูกุล (กรรมการผู้จัดการ บริษัท คลีน กรีนเทค จํากัด) เป็นที่ปรึกษาภายนอกด้านนโยบาย
                 การพัฒนาอุตสาหกรรมปศุสัตว์ และคุณจิรวัฒน์ สุริยะโชติชยางกูล (นักวิจัยฝ่ายนโยบายเพื่อการพัฒนาสังคม สถาบันวิจัย
                 เพื่อการพัฒนาประเทศไทย) ช่วยดูประเด็นด้านกฎหมายในช่วงต้นของโครงการ

               2    ในทางกฎหมายของไทยใช้คำว่า “แรงงานต่างด้าว” อ้างอิงตาม “พระราชกําหนดการบริหารจัดการการทํางานของคนต่าง
                 ด้าว พ.ศ. 2560” มาตรา 7 วรรค 2 ซึงให้นิยามความหมาย “คนต่างด้าว” ไว้ในมาตรา 5 ว่า “บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติ
                 ไทย”

               ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติคำว่าแรงงานต่างด้าวมักจะถูกใช้เรียกแรงงานไร้ฝีมือจากกลุ่ม 3 ประเทศเพื่อนบ้าน คือ เมียนมา ลาวและ
                 กัมพูชา ขณะที่แรงงานจากประเทศอื่นๆ มักถูกเรียกว่า แรงงานต่างชาติ หรือ แรงงานข้ามชาติ อย่างไรก็ตาม เพื่อการไม่
                 แบ่งแยกเชื้อชาติและชนชั้นของแรงงาน อันเป็นวัตถุประสงค์หลักของโครงการ การศึกษานี้จะใช้คำว่า “แรงงานข้ามชาติ”

                 แทนแรงงานทุกกลุ่มที่ไม่ได้มีสัญชาติไทย
               3  ณ อัตราอ้างอิงโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ปี 2560 : 1 ดอลลาร์สหรัฐ (USD) เท่ากับ 33.9385 บาท โดยเฉลี่ย

               โครงการแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย:
               กรณีแรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก                                          หน้าที่ 9 | 180
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16