Page 13 - รายงานฉบับสมบูรณ์ (ฉบับย่อ) โครงการแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย : กรณีแรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก
P. 13

จากผู้บังคับบัญชา การขู่เข็ญและบังคับให้ทำงานหนัก และในบางกรณีมีการถูกทำร้ายร่างกายจากการทุบตี

               การหักเงินค่าจ้างในกรณีที่เข้าห้องน้ำนานเกินกำหนด รวมทั้งมีการรายงานการใช้แรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
               ด้วย

                              นอกจากนี้ ในรายงานยังมีการศึกษาถึงเส้นทางห่วงโซ่อุปทานของสัตว์ปีกของไทย ซึ่งระบุว่า

               ในปี 2557 สวีเดนนำเข้าสัตว์ปีกจากไทยโดยตรงร้อยละ 13 ของปริมาณการนำเข้าสัตว์ปีกทั้งหมด และเชื่อว่า
               มีการนำเข้าเพิ่มเติมโดยผ่านประเทศที่ 3 ซึ่งยังไม่สามารถตรวจสอบที่มาได้ เพราะการนำเข้าสัตว์ปีกแปรรูป

               (ส่วนใหญ่มักเป็นการแปรรูปโดยการเติมเกลือ) ไม่ต้องมีการรายงานที่มาของวัตถุดิบ ซึ่งแตกต่างจากการนำเข้า

               ในรูปแบบของอาหารสดและแช่แข็ง โดยภาครัฐสวีเดนมีส่วนนำเข้าสัตว์ปีกมูลค่ากว่า 21
               ล้านยูโร ผ่านหน่วยงานทั้งระดับเขตและชุมชน โดยภาครัฐสวีเดนนำเข้าสัตว์ปีกไปยังบริการภาครัฐต่างๆ เช่น

               โรงพยาบาลและโรงเรียน

                              รายงานข้างต้นได้เสนอให้ไทยยกระดับมาตรฐานแรงงานในการผลิตสินค้า
               สัตว์ปีกให้ไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงเสนอให้เอกชนผู้นำเข้าสัตว์ปีกจากไทย และชุมชนและภาครัฐ

               ของสวีเดน ให้ตรวจสอบมาตรฐานแรงงานของสินค้าที่นำเข้าโดยการขอหลักฐานการตรวจพิสูจน์/รับรอง (เช่น

               certificate จากผู้ตรวจสอบ)  รวมถึงการตั้งบุคคลที่ 3 เข้ามาตรวจสอบคู่ค้าของตน และบังคับใช้มาตรการทั้ง
               ในระดับสหภาพยุโรปและระดับประเทศในการจัดการการนำเข้าสินค้าเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการส่งเสริม

               อุตสาหกรรมที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

                              แม้ว่าภาครัฐของประเทศต่างๆ ในยุโรปจะยังไม่ได้มีมาตรการกีดกันสินค้าสัตว์ปีกของไทย แต่
               รายงานข้างต้นส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยในวงกว้าง เนื่องจากมีการเผยแพร่ผลการศึกษาออกไป

               ผ่านสื่อทั้งบทความข่าวและรายการโทรทัศน์ในระดับประเทศสวีเดน และมีการเผยแพร่บทความหน้าเว็บไซต์

               ขององค์กรระหว่างประเทศต่างๆ รวมไปถึงมีการรายงานข่าวในประเทศต้นทางของแรงงาน และในช่วงเวลาที่
               ใกล้เคียงกัน (คือเดือนตุลาคม 2558) ได้เกิดเหตุการณ์ประท้วงโดยแรงงานชาวเมียนมากว่า 400 คนของบริษัท

               แหลมทองโพลทริ จำกัด อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา โดยมีข้อเรียกร้องเกี่ยวกับการทำบัตรประกันสังคม การ

               จ่ายเงินในวันหยุดโรงงานที่ไม่เกี่ยวกับพนักงาน การยกเลิกการห้ามทาแป้งทานาคา การขอให้มีการเตือนผ่าน
               เอกสารก่อนการหักค่าจ้างจากการกระทำความผิด การขอผ่อนปรนการกำหนดระยะเวลาในการเข้าห้องน้ำ

               การขอความช่วยเหลือต่ออายุหนังสือเดินทาง การขอล่ามในการไปโรงพยาบาล การขอที่พักสำหรับแรงงาน

               และการขอเจรจากับผู้บริหารระดับสูง ซึ่งต่อมาได้มีการเจรจาตกลงและปรับปรุงประเด็นต่างๆ จนเป็นที่
               ยอมรับได้ของทั้ง 2 ฝ่าย

                              นอกจากนี้ ในปี 2559 ยังมีเหตุการณ์ร้องเรียนของแรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก

               จำนวน 14 คนที่ทำงานให้บริษัทธุรกิจการเกษตรแห่งหนึ่ง ว่าถูกละเมิดสิทธิฯ โดยนายจ้าง และไม่ได้รับค่าจ้าง
               เต็มตามเวลาที่ทำงาน แรงงานเหล่านี้ได้ติดต่อกับเครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ (Migrant Worker Rights









               โครงการแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย:
               กรณีแรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมสัตว์ปีก                                        หน้าที่ 11 | 180
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18