Page 9 - คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม
P. 9

เกริ่นน�ำ  1

















                                       “สิทธิมนุษยชน” คืออะไร?




                  “สิทธิมนุษยชน”  คือชุดหลักการและมาตรฐานพื้นฐานซึ่งมีเป้าหมายที่จะรับประกันศักดิ์ศรี  เสรีภาพ
            และความเท่าเทียมให้กับมนุษย์ทุกคน  ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในปี  1948  ระบุสิทธิมนุษยชน

            พื้นฐาน  30  ประการ  ประกอบกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรม
            (International Covenant on Economic, Socia l and Cultural Rights ย่อว่า ICESCR) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วย
            สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights ย่อว่า ICCPR)

            และพิธีสารเลือกรับ  (Optional  Protocol)  อีกสองฉบับ  รวมกันเป็น  “ตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ”
            (International Bill of Human Rights)


                  หลักการสิทธิมนุษยชนกำาหนดว่า  (1)  ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นสิทธิตามธรรมชาติติดตัวมาแต่กำาเนิด
            (2) สิทธิมนุษยชนเป็นสากลไม่สามารถถ่ายโอนกันได้ (3) สิทธิมนุษยชนไม่สามารถแยกส่วนได้ว่าสิทธิใดมีความสำาคัญ

            กว่าอีกสิทธิหนึ่ง  (4)  ต้องเคารพความเสมอภาค  และการเลือกปฏิบัติถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
            (5) ประชาชนและประชาสังคมย่อมมีส่วนร่วมในการเข้าถึง และเลือกรับประโยชน์จากสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง
            สิทธิทางเศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรม  และรัฐต้องมีมาตรการในการปกครองประเทศโดยใช้หลักนิติธรรม

            และตรวจสอบได้ (อมรา พงศาพิชญ์, 2557)


                  ในแง่กฎหมาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 คุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะ
            ในหมวดที่  3  สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวดที่ 5  แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนรัฐธรรมนูญ
            แห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับลงประชามติ พุทธศักราช 2559 บัญญัติไว้ในหมวดที่ 2 เช่น มาตรา 27 บัญญัติว่า

            “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิง
            มีสิทธิเท่าเทียมกัน  การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล  ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำาเนิด
            เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม

            ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมือง อันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
            หรือเหตุอื่นใด จะกระทำามิได้ มาตรการที่รัฐกำาหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิหรือ เสรีภาพ
            ได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองหรืออำานวยความสะดวกให้แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาส
            ย่อมไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม...”

















                                                                                                           7
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14