Page 14 - คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม
P. 14

•  การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Protect) คือ รัฐมีหน้าที่ในการคุ้มครอง
                                 ไม่ให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากองค์กรของรัฐหรือบุคคลที่สาม
                                 ซึ่งหมายรวมถึงองค์กรภาคธุรกิจต่างๆ ด้วย หน้าที่ในการคุ้มครองของรัฐ

                                 มี 4 ประการ ได้แก่ 1) การบังคับใช้กฎหมาย 2) การประกันว่ากฎหมาย
                                 ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจจะต้องไม่เป็นอุปสรรคและต้องส่งเสริมการเคารพ
                                 สิทธิมนุษยชน 3) การจัดให้มีแนวปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ และ 4) การสนับสนุน

                                 ให้องค์กรธุรกิจกำาหนดวิธีการรับมือกับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน


                              •  การเคารพสิทธิมนุษยชน (Respect) องค์กรและบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                                 องค์กรภาคธุรกิจ มีหน้าที่ในการเคารพสิทธิมนุษยชน โดยการหลีกเลี่ยง
                                 ที่จะละเมิด และดูแลผลกระทบกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนที่องค์กรเข้าไป

                                 เกี่ยวข้อง ทั้งนี้จะต้องมีการผูกพันตั้งแต่ระดับนโยบาย (Policy Commitment)
                                 ขององค์กร และการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights
                                 Due Diligence) รวมถึงมีการประเมินผลกระทบ (Human Rights Impact

                                 Assessment) ในทุกขั้นตอนของการดำาเนินงาน รวมถึงมีการประเมิน
                                 ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน มีการจัดทำาตัวชี้วัด (Indicators) และการ
                                 ประเมินผลสัมฤทธิ์ การจัดทำารายงาน การเปิดเผยข้อมูล ความโปร่งใส
                                 และการสื่อสารต่อสาธารณะ



                              •  การเยียวยา (Remedy) เมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น รัฐจะต้อง
                                 จัดให้มีการเยียวยาที่เหมาะสม รวมทั้งยังเรียกร้องให้องค์กรภาคธุรกิจควร
                                 จัดให้มีช่องทางในการร้องเรียน และเยียวยาเมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน

                                 เกิดขึ้นด้วยไม่ว่าโดยกิจการนั้นเอง หรือการรวมกลุ่มองค์กรภาคธุรกิจ
                                 ที่เกี่ยวข้องซึ่งได้รวมกันเป็นสมาคมธุรกิจ







                  หลักการชี้แนะ UNGP คาดหวังว่า ทุกกิจการจะต้องพยายามทำาความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า การประกอบธุรกิจ
            ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ที่กิจการมีส่วนเกี่ยวข้องนั้นส่งผลกระทบ หรือมีความเสี่ยง
            ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ อย่างไรบ้าง โดยเฉพาะชุมชนท้องถิ่นและกลุ่มเปราะบาง อย่างเช่น

            สตรี ชนพื้นเมือง และแรงงานข้ามชาติ และหลังจากที่เห็นภาพผลกระทบที่เกิดขึ้นหรือสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอย่างชัดเจนแล้ว
            กิจการนั้นๆ ก็จะต้องลงมือจัดการกับผลกระทบและความเสี่ยงเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง















             12
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19